อุบัติการณ์ของเชื้อแบคทีเรียที่สร้างเอนไซม์ AmpC ß-lactamase ในสถาบันบำราศนราดูร ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2550

Main Article Content

อัญชนา ถาวรวัน
ปวีณา ก้องสนั่น
สว่าง ไชยศักดา
บุญช่วย เอี่ยมโภคลาภ

บทคัดย่อ

          ด้วยกลไกการดื้อยาของแบคทีเรียที่สามารถสร้างเอนไซม์ AmpC ß-lactamase ซึ่งคล้ายคลึงกับฤทธิ์ของเอนไซม์ ESBLs (extended-spectrum ß-lactamases) ทำให้เชื้อดื้อต่อยากลุ่มเพนนิซิลิน, cephalosprorin และ monobactam แต่เอนไซม์ AmpC ß-lactamase สามารถทำลายฤทธิ์ของยากลุ่ม cephamycin ได้และไม่ถูกยับยั้งด้วยยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์ ß-lactamase จึงทำให้เชื้อดื้อยาหลายขนาน เป็นผลให้ยาที่ใช้ในการรักษามีไม่มากนัก ทั้ง Klebsiella pneumoniae และ Escherichia coli ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาลก็สามารถสร้างเอนไซม์นี้ได้แม้จะมีรายงานการพบการดื้อยาโดยกลไกการสร้างเอนไซม์ AmpC ß-lactamase ตั้งแต่คริสตศักราช 1980 แต่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทางด้านโรคติดเชื้อก็ยังไม่คำนึงถึงความสำคัญของปัญหานี้ด้วยวิธีการทดสอบยังยุ่งยาก ไม่สะดวก ต้องการสารเคมีพิเศษที่หาไม่ได้ในงานประจำ รวมถึงยังมีความไว และความจำเพาะที่ต่ำ ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่จึงยังไม่มีการหากลไกการดื้อยาของเอนไซม์นี้อีกทั้งไม่มีวิธีมาตรฐานที่ Clinical and Laboratory Standards Institute (CLSI) แนะนำ ความสำคัญที่ต้องตรวจหาเอนไซม์ AmpC ß-lactamase คือเชื้อกลุ่มแกรมลบ เช่น E. coli, Klebsiella spp., Proteus mirabilis, และ Salmonella spp. ที่สามารถสร้างเอนไซม์นี้ได้ ให้ผลไวปลอมในหลอดทดลองกับยากลุ่ม cephalosporins จากผลไวต่อยาปลอม ทำให้การรักษาผู้ป่วยไม่ได้ผลอาจทำให้เสียชีวิตด้วย ในการศึกษาอุบัติการณ์ของเชื้อแกรมลบที่สร้างเอนไซม์ AmpC ß-lactamase ในสถาบันบำราศนราดูร ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธี AmpC Disk test ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างง่าย ศึกษาจากเชื้อแกรมลบที่แยกได้จากผู้ป่วยระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2550 จากเชื้อแบคทีเรียหลายสายพันธุ์จากผู้ป่วยไม่ซ้ำรายจำนวน 117 สายพันธุ์ พบเชื้อสามารถสร้าง AmpC ß-lactamase จำนวน 18 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 15.8 นำเชื้อที่สร้างเอนไซม์ได้มาจำแนกตามสิ่งส่งตรวจพบว่า 7 สายพันธุ์แยกได้จากเสมหะทั้งหมด 40 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 17.5 จากหนองทั้งหมด 26 ตัวอย่างพบ 4 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 15.4 จากปัสสาวะทั้งหมด 41 ตัวอย่างพบ 7 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 14.6 จากเลือดทั้งหมด 7 ตัวอย่างพบ 1 สายพันธุ์คิดเป็นร้อยละ 14.3 แม้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีมาตรฐานที่ง่าย และให้ผลที่น่าเชื่อถือที่สุด แต่การทำ AmpC Disk test เพื่อเป็นรายงานเบื้องต้นให้แพทย์ได้ใช้ประกอบการวางแผนการรักษาคนไข้เพื่อลดอัตราการตายก็น่าจะประยุกต์ใช้ได้ในงานประจำวัน เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Tse Hsien Koh, Grace Chee Yeng Wang, Li Hwei Sng, et al. CTX-M, plasmid mediated AmpC producing Enterobacteriaceae, Singapore. Emerging Infectious Disesae [Internet]. 2004; 10(6): 1172-74. Available from: www.cdc.gov/eid

2. Jennifer AB, Ellen SM, Kenneth ST. AmpC Disk Test for detection of plasmid-mediated AmpC ß-lactamase in Enterobacteriaceae lacking chromosomal AmpC ß-lactamase. J Clin Micro 2005; 43(7): 3110-13.

3. Hyunjoo P, Cheol-In K, Jeong-Hum B, Ki-Deok L, et al. Epidermiology of clinical features of Blood stream infectious caused by AmpC-type ß-lactamase producing Klebseilla pneumoniae. Anti agents hemoculture 2004; 48(10): 3720-28.

4. Philip EC, Ellen SM, Kenneth ST. Occurrence and detection of AmpC ß-lactamases among Escherichia coli, Klebsiealla pneumoniae, and Proteus mirabilis isolate at a Veterans Medical Center. J Clin Micro 2000; 38(5): 1791-96.

5. George AJ, Kelly EW, Victoria JW. Identification of extended-spectrum, AmpC, and carbapenem-hydrolysing ß-lactamsase in Escherichia coli and Klebsiealla pneumoniae by disk tests. J Clin Micro 2006; 44(6): 1971-76.

6. Suranjana A, Manjusri. AmpC ß-lactamase producing bacterial isolates from Kolkata Hospital. IIndian J med Res 2005;122:224-33.

7. M Shahid, Abida M, Mithlesh et al. Phenotypic detection of extended-spectrum and AmpC ß-lactamases by a new spot-inoculation method and modified three-dimentional extract test: comparison with the conventional three-dimentional extract test. J Antimicro Chemoculture 2004; 54: 684-87.

8. F Javier PP, Nancy DH. Detection of plasmid-mediated AmpC ß-lactamase genes in Clinical isolates by using multiplex PCR. J Clin Micro 2002; 40 (6): 2153-62.

9. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มาลัย วรจิตร. การทดสอบความไวของแบคทีเรียต่อสารต้านจุลชีพ. โครงการฝึกอบรม คณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยมหิดล 2549: 69-74.