ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองและผลการรักษาของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคปอด

Main Article Content

สมพร พงศ์ชู
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
วารินทร์ บินโฮเซ็น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการสังเกตตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อน และหลังเข้าโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อ วัณโรคปอด


  1. ศึกษาผลการรักษาวัณโรคปอดของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคปอดภายหลังการเข้าโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเอง

วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยก่อนการทดลอง (Pre-Experimental Research) แบบกลุ่ม เดียววัดก่อนและหลัง(one group pre-posttest) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการ ส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและผลการรักษาของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อ วัณโรคปอด โดยประยุกต์แนวคิดการจัดการตนเองของแคนเฟอร์(Kanfer, 1991) เป็นกรอบแนวคิด ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคปอดมารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของ สถาบันบำราศนราดูร จำนวน 30 คน ซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ได้รับโปรแกรม การส่งเสริมการจัดการตนเอง เป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินและ การวางแผน 2) การเตรียมความพร้อมเพื่อการจัดการตนเอง 3) การฝึกปฏิบัติการจัดการตนเอง


  • การประเมินผล โดยมีแผนการสอน และคู่มือการดูแลตนเองของผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคปอด เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการเข้าโปรแกรมโดยการตอบแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผลการรักษาประเมินการถ่ายภาพรังสีทรวงอกหรือการตรวจหาเชื้อวัณโรค วิเคราะห์ความแตกต่างของ คะแนนพฤติกรรม การสังเกตตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังเข้าโปรแกรมด้วยสถิติ Wilcoxon Signed-Ranks test

ผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเอง ผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคปอด มีพฤติกรรมการสังเกตตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = .000) ผลการรักษา พบว่า หายขาด 19 ราย รับประทานยาครบ 9 รายและขาดยา 2 ราย

Article Details

บท
บทความวิจัย