ผลของการใช้เทคนิคการดูดเสมหะด้วยระบบปิด ต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

Main Article Content

วราภรณ์ เทียนทอง
วารินทร์ บินโฮเซ็น
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
วีรวัฒน์ มโนสุทธิ

บทคัดย่อ

          ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราการเจ็บป่วยและอัตรา การตายในผู้ป่วยวิกฤต เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญอย่างหนึ่งในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลในหออภิบาล ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของผลของการใช้เทคนิค การดูดเสมหะด้วยระบบปิดต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและความอิ่มตัวของ ออกซิเจนในเลือดแดงในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ


          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) เก็บข้อมูลนาน 14 เดือน เป็นผู้ป่วยศัลยกรรมและอายุรกรรม อายุไม่ต่ำกว่า 13 ปีใช้เครื่องช่วยหายใจนานมากกว่า 48 ชั่วโมงในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก สถาบันบำราศนราดูร ระหว่างเดือนธันวาคม 2548 - กุมภาพันธ์ 2550 แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูดเสมหะ ด้วยระบบปิด กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูดเสมหะด้วยระบบเปิด ประเมินการเกิดปอดอักเสบ จากแนวทางการวินิจฉัยการติดเชื้อเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของ และตรวจวัดค่า ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงก่อนการดูดเสมหะ หลังการดูดเสมหะ 1, 5 และ 10 นาที ตามลำดับ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่แนวทางการ ดูดเสมหะระบบปิดและระบบเปิด 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบบันทึกเวลาที่กลุ่ม ตัวอย่างเข้าร่วมวิจัย แบบบันทึกการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และแบบบันทึกค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง วิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราการเกิดปอดอักเสบจากการ ใช้เครื่องช่วยหายใจระหว่างการดูดเสมหะระบบปิด และระบบเปิดด้วยสถิติChi-Square test และความแตกต่างของค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงก่อนการดูดเสมหะ หลังการดูดเสมหะ 1, 5 และ 10 นาทีด้วยสถิติMann - Whitney U test


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มควบคุมจำนวน 28 ราย เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหาย 11 รายในขณะที่กลุ่มทดลองจำนวน 28 ราย เกิด 9 ราย (p = 0.51) และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ในเลือดแดง ในกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากกลุ่มทดลองหลังการดูดเสมหะ 1, 5 และ 10 นาทีแต่ อย่างไรก็ตามการดูดเสมหะระบบปิดมีแนวโน้มในการสูญเสียออกซิเจนในเลือดแดงน้อยกว่าระบบเปิด


          การดูดเสมหะระบบปิดไม่สามารถลดการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่อ เปรียบเทียบกับการดูดเสมหะระบบเปิด แต่การดูดเสมหะระบบปิดสามารถใช้เป็นทางเลือก ในการดูแล ผู้ป่วยที่มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อทางเดินหายใจที่เป็นอันตราย เช่น โรคซาร์ส ไข้หวัดนก วัณโรคที่ดื้อ ต่อยา เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงของบุคลากรที่ต้องดูแลผู้ป่วย เป็นอีกทางเลือกในการดูดเสมหะ และ ควรทำวิจัยซ้ำโดยเพิ่มขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายจากการดูดเสมหะ ด้วยระบบปิด

Article Details

บท
บทความวิจัย