การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กวัยเรียน อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

อดุลย์ ฉายพงษ์
สุกัญญา อินลักษณ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง การได้รับการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กวัยเรียน อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 320 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient)


          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ ร้อยละ 49.4 57.8 และ 60.3 ตามลำดับ สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.43 p< 0.001 และ r=0.48 p< 0.001 ตามลำดับ) สำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของกลุ่มเด็กวัยเรียน บุคลากรทางด้านสุขภาพหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรคำนึงถึงปัจจัยในด้านการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดพฤติกรรมดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. คู่มือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

2. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานการประเมินผลการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับประเทศ ปี 2559–2560. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

3. สำนักระบาดวิทยา. สรุปสถานการณ์รายปี [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 มี.ค. 62]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=262766

4. โรงพยาบาลนาดี. สรุปรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกรวม(26,27,66) จังหวัดปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561. ปราจีนบุรี: โรงพยาบาลนาดี; 2562.

5. องค์อร ประจันตเขตต์. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของนักเรียนเขาเพิ่มนารีผลวิทยา อ.บ้านนา จ.นครนายก. เวชสารแพทย์ทหารบก 2555;65 (3): 159-65.

6. ไฉไล เที่ยงกมล, กานดามณี พานแสง, ส่งศรี รัตนมาลาวงศ์, อารญา โถวรุ่งเรือง. พฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารพยาบาลตำรวจ 2558; 7(2): 1-14.

7. Bandura A. Social learning Theory. New Jersey: Prentice Hall; 1997.

8. Rosenstock IM. Historical origins of the health belief model. Health Educ Monogr 1974; 2(4): 328-35.

9. Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1970; 30(3): 607-10.

10. Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1997.

11. Bandura A. Social Foundation of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New Jersey: PrenticeHall; 1986.

12. นุชษญากร คณาภรณ์ทิพย์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2561; 12(2): 60-9.

13. Bandura A. Regulation of cognitive process through perceived self-efficacy. Dev Psychol 1989; 25(5): 729-35.

14. เพ็ญนภา เพ็ชรเล็ก, โสภิต สุวรณเวลา, วรารัตน์ ทิพย์รัตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติด้านอนามัยส่วนบุคคลของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนจังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2559; 8(2): 47-59.

15. นิคม แก้ววันดี, วราภรณ์ ศิริสว่าง, ศิริขวัญ บริหาร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15; วันที่ 23 กรกฎาคม 2558; มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; 2558. หน้า 73-86.

16. ชลอรัตน์ ศิริเขตรกรณ์. ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้และพฤติกรรมในการรับบริการ ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2562; 13(2): 111-22.