การประเมินผลความครอบคลุมของการตรวจวัณโรคดื้อยาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

Main Article Content

จุฑาพัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลความครอบคลุมของการตรวจวัณโรคดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคที่เคยรับการรักษาวัณโรคมาก่อน ซึ่งขึ้นทะเบียนระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - 2562 โดยรวบรวมข้อมูลการตรวจวัณโรคดื้อยาจากโรงพยาบาลรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 78 แห่งใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างจากโปรแกรมข้อมูลวัณโรคของประเทศ และเปรียบเทียบข้อมูลปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กับการตรวจสอบข้อมูลช่วงนิเทศงาน


          จากการเปรียบเทียบรายจังหวัด 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส พบว่าจำนวนการส่งทดสอบความไวต่อยา (drug susceptibility test: DST) เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เท่ากับร้อยละ 5.5, 5.3, 2.8, 0, 20.9, 9.1 และ 0 ตามลำดับ ส่วนจำนวนการมีผล DST เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนรักษาเท่ากับร้อยละ 5.5, 5.3, 0, 0, 14.0, 9.1 และ 0 ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนการส่ง DST เปรียบเทียบกับจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนรักษาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เท่ากับร้อยละ 66.7, 81.8, 87.5, 76.9, 96.8, 41.7 และ 95.8 ตามลำดับ ส่วนจำนวนการมีผล DST กับจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนรักษาเท่ากับร้อยละ 57.5, 63.6, 87.5, 69.2, 80.6, 33.3 และ 83.3 ตามลำดับ สาเหตุส่วนใหญ่ของการไม่ส่ง DST เกิดจากความไม่รู้เกณฑ์การตรวจ DST ในขณะที่สาเหตุของการส่ง DST แต่ไม่มีผล DST เกิดจากปัญหาด้านจัดการเสมหะ และการสื่อสารระหว่างคลินิกวัณโรคกับห้องปฏิบัติการ ปัญหาการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมข้อมูลวัณโรคของประเทศ ซึ่งทางผู้วิจัยสนับสนุนให้โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนทำการบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมและรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการวัณโรคควบคู่กันไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Seung KJ, Keshavjee S, Rich ML. Multidrug-Resistant Tuberculosis and Extensively Drug-Resistant Tuberculosis. Cold Spring Harb Perspect Med 2015; 5: a017863. doi: 10.1101/cshperspect.a017863.

2. Centers for Disease Control and Prevention. The Costly Burden of Drug-resistant TB in the U.S. [Internet]. [cited 2019 Jun 1]. Available from: https://www.cdc.gov/nchhstp/newsroom/docs/factsheets/costly-burden-dr-tb-508.pdf

3. World Health Organization. Global Tuberculosis Report 2018. France: minimum graphics; 2018. WHO/CDS/TB/2018.20

4. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติพ.ศ. 2556 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

5. Strategy House PA 2562-TB [Internet]. [cited 2019 Jun 1]. Available from: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/3.%20TB%20v.2%20edit%2019%20oct%202018.pdf

6. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนงานวัณโรค ภายใต้กรอบคำรับรองการปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุข และแนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค; 2562.

7. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

8. โปรแกรมข้อมูลวัณโรคของประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 4 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://tbcmthailand.ddc.moph.go.th

9. ศูนย์วัณโรคที่ 12 จังหวัดยะลา. ผลการสำรวจความรู้และการปฏิบัติของบุคลากรวัณโรคเพื่อค้นหาวัณโรคดื้อยา. การอบรม “แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561” โดยสำนักวัณโรค; วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2562; โรงแรมลีการ์เด้นส์ พลาซ่า หาดใหญ่ สงขลา.

10. Shewade HD, Kokane AM, Singh AR, Parmar M, Verma M, Desikan P, et al. Provider reported barriers and solutions to improve testing among tuberculosis patients ‘eligible for drug susceptibility test: A qualitative study from programmatic setting in India. PLoS ONE [Internet]. 2018 [cited 2019 Jun 1]. 2018; 13: e0196162. doi.org/10.1371/journal.pone.0196162

11. เจริญสุข อัศวพิพิธ, ศวิตา อิสสะอาด, ศรีสุดา สมัดชัย. การศึกษาสถานการณ์การใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อคัดกรองเด็ก ที่ติดเชื้อเอชไอวีในบริการฉีดวัคซีนคลินิกยาต้านไวรัส กุมารเวชกรรม สถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2562; 13(2): 137-48.

12. พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ. การรักษาวัณโรค: DOT vs VOT. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2651; 12(1): 43-7.

13. นัชชา แสงวัชรสุนทร. การทำงานวัณโรคในสังคมเมืองยากจริงหรือ. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2561; 12(2): 97-104.

14. พันธ์ทิพย์ แก้วดวงใจ, อรวรรณ เอียดทอง, อารี รามโกมุท. การดูแลด้านจิตสังคมในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ณ สถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2561; 12(3): 157-60.

15. World Health Organization Companion. Handbook to the WHO guidelines for the programmatic management of drug-resistant tuberculosis. Geneva: WHO; 2014. WHO/HTM/TB/2014.11