การพัฒนาผลิตภัณฑ์วิชาการตามมาตรฐานกรมควบคุมโรคของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

Main Article Content

ดวงกมล หาทวี

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยในงานประจำ (Routine to Research : R2R) โดยใช้รูปแบบการวิจัยประเมินผล (Project evaluation research) มาเพื่อประเมินโครงการจัดทำผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์ทางวิชาการ ในปีพ.ศ. 2555 - 2560 โดยใช้แนวคิดการประเมิน CIPP Model ประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการดําเนินงาน และด้านผลผลิต การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินย้อนหลังจากข้อมูลเอกสารที่มีอยู่โดยใช้แนวคิดการประเมิน CIPP model ของ Stufflebeam วิธีดำเนินการวิจัย ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากเอกสาร และการประเมินข้อมูลโครงการที่รวบรวมมา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบรวบรวมโครงการจัดทำผลิตภัณฑ์ และแบบประเมินโครงการจัดทำผลิตภัณฑ์ฯที่ประยุกต์ CIPP model มาปรับใช้


          ผลการวิจัยพบว่า จุดแข็งของการดำเนินโครงการจัดทำผลิตภัณฑ์คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) เนื่องจาก ผลการวิจัยพบว่า จุดแข็งของการดำเนินโครงการจัดทำผลิตภัณฑ์คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) เนื่องจากอัตราเบิกจ่ายเงินของโครงการจัดทำผลิตภัณฑ์สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย ด้านการประเมินบริบทสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) มีจุดแข็งจากการจัดทำโครงการฯที่คำนึงถึงนโยบาย จุดเน้นของกรมควบคุมโรคและยุทธศาสตร์ของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง แล้วนำมากำหนดวัตถุประสงค์ ผลผลิต และประโยชน์ของโครงการที่จะได้รับให้สอดคล้องกันทั้งหมด จุดแข็งอีกด้านหนึ่งคือ ด้านกระบวนการ (Process) ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการจัดทำโครงการฯที่สอดคล้องกับนโยบาย มีวัตถุประสงค์ ผลผลิตชัดเจน ทำให้การวางแผนกิจกรรมเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย ส่งผลให้การกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลมีความสอดคล้องกันไปด้วย ทั้งนี้เกิดจากการกำหนดแบบฟอร์มการจัดทำคำของบประมาณ และแบบฟอร์มการจัดทำโครงการประจำปีงบประมาณ ของกรมควบคุมโรคที่มีความชัดเจน รวมทั้งในแต่ละปีงบประมาณมีกระบวนการถ่ายทอดการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ชัดเจน แต่จุดด้อยของการดำเนินงานโครงการฯ คือ ด้านผลผลิต (Product) พบปัญหาเรื่องการประเมินผลการใช้ประโยชน์ และการประเมินความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้ขาดข้อมูลที่จะนำมาใช้พัฒนางานด้านการจัดทำผลผลิตทางวิชาการในปีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เชาว์ อินใย. การประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

2. Stufflebeam DL. CIPP evaluation model checklist: a tool for applying the CIPP model to assess projects and programs [Internet]. 2015 [cited 2019 July 15]. Available from: https://wmich.edu/sites/default/files/attachments/u1158/2019/cippmodel-stufflebeam_2019_04_17.pdf

3. บุญชม ศรีสะอาด, บุญส่ง นิลแกว.การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วน ประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม 2557; 3(1): 23-5.

4. International Organization for Standardization. International Organization for Standardization 9001 Quality Management Systems requirements [Internet]. 2015 [cited 2019 Oct 4]. Available from: https://www.iso.org/obp/ui/#iso:std:iso:9001:ed-5:v1:en

5. Smith David. Exploring Innovation. Berkshire: McGraw-Hill Education; 2006.

6. ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, นัชชา พรหมพันใจ, บุษบัน เชื้ออินทร์. การประเมินประสิทธิผลการพัฒนาสถานบริการเชี่ยวชาญโรคเรื้อนในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2562; 12(1): 44-55.

7. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. วิธีทางการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.

8. สันทัด เสริมศรี. บทบาทและความรับผิดชอบของผู้เชี่ยวชาญในงานด้านวิชาการ. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2549; 4(1): 81-4.