การศึกษาภาวะ Neutropenia ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษา ศูนย์มหาวชิราลงกรณ

Main Article Content

ทรงเดช ประเสริฐศรี
มนพร ชาติชำนิ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะ Neutropenia ในผู้ป่วยที่ได้รับการักษาด้วยยาเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษา รวมทั้งศึกษาถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายหลังการเกิดภาวะ Neutropenia ในศูนย์มหาวชิราลงกรณธัญบุรี จ.ปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากเวช ระเบียนโดยผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษา ในศูนย์มหาวชิราลงกรณธัญบุรี จำนวน 216 ราย ผู้วิจัยทำการศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยย้อนหลังเมื่อครบการรักษา ตั้งแต่ระหว่างเดือน เมษายน 2553-เมษายน 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจข้อมูลภาวะ Neutropenia ตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 216 ราย เกิดภาวะ Neutropenia ในระดับความรุนแรงของภาวะ Neutropenia 2- 4 จำนวน 31 ราย (ร้อยละ 31.48) โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.5 โดยพบว่าระดับความรุนแรงของภาวะ Neutropenia ที่พบคือ ระดับ 2 จำนวน 25 ราย (ร้อยละ 36.8) ระดับ 3 จำนวน 24 ราย (ร้อยละ 35.3) และระดับ 4 จำนวน 18 ราย (ร้อยละ 26.5) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เกิดภาวะ Netropenia เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม (ร้อยละ 63.2) ชนิด Invasive ductal carcinoma (ร้อยละ 63.2) การรักษาที่เกิดภาวะ Neutropenia มากคือ การรักษาด้วยเคมีบำบัด (ร้อยละ 60.3) และการรักษาร่วมกันระหว่างเคมีบำบัดและรังสีรักษา (ร้อยละ 30.9) สูตรยาที่พบคือ การใช้ FAC (ร้อยละ 19.1) และ AC (ร้อยละ 14.7) จำนวนครั้งที่เกิดมากที่สุด คือ 1 ครั้ง (ร้อยละ 26.5) โดยผู้ป่วยที่เกิดภาวะ Neutropenia ส่วนใหญ่มีระดับ Albumin อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 88.2) มีเพียง 2 ราย (ร้อยละ 2.9) ที่มีระดับ Albumin ต่ำกว่าปกติ และมี 6 ราย (ร้อยละ 8.8) ที่มีระดับ Albumin สูงกว่าปกติจากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะ Neutropenia ในระดับ 4 มีการติดเชื้อจำนวน 3 ครั้ง (ร้อยละ 16.7) โดยการติดเชื้อที่พบคือ การติดเชื้อไวรัส Hepes zoster และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งพบว่าผู้ป่วย Neutropenia ระดับ 4 จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 14 ราย (ร้อยละ 77.8) ซึ่งจำนวนวันนอนโรงพยาบาลน้อยที่สุด อยู่ที่3 วัน (ร้อยละ 11.1) และนานที่สุด 8 วัน (ร้อยละ 5.6) ซึ่งผลการวิจัยนี้จะสามารถนำไปวางแผนการรักษาพยาบาลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งเป็นผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เกิดภาวะ Neutropenia จากการได้รับยาเคมีบำบัดสูตร FAC และ AC และการค้นพบนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. American Cancer Society. Fever and Neutropenia Treatment Guidelines for Patients with Cancer-Version II. 2006 [cited 2010 December 1]. Avaiable from: http://www.nccn.org/patients/patient_gls/_english/_fever_and_neutropenia/1_introduction.asp

2. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาภาวะ Febrile Neutropenia ในผู้ป่วยมะเร็ง. [Internet]. 2006 [cited 2010 December 1]. Avaiable from: http://www.thaipediatrics.org/detail_journal.php?journal_id=99

3. เวชสถิติศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี. สถิติการเข้ารับการรักษาในปี2550-2551.

4. พิสมัย ยืนยาว และคณะ. ภาวะแทรกซ้อนทางระบบโลหิตจากการให้ยาเคมีบำบัดซิสพลาตินร่วมกับรังสีรักษาในการรักษามะเร็งปากมดลูกที่ศูนย์มะเร็ง อุบลราชธานี. Srinagarind medic journal 2548; 22(2): 127-32.

5. นันทา เล็กสวัสดิ์, นฤมล ลาวัลย์ตระกูล, ทรงศรี ชุ่มประดิษฐ์. ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด. วารสารสภาการพยาบาล 2542; 14(3): 37-54.

6. Hsieh MM, Everhart JE, Tisdale JF, Rodgers GP. Prevalence of Neutropenia in the U.S. Population: Age, Sex, Smoking Status, and Ethnic Differences. Annals of Internal Medicine 2007; 146(7): 486-92.

7. ชวลิต เลิศบุษยานุกูล, ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย. หลักการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัด. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2546; 47(8): 501-11.

8. อมรทัศน์ สดใส. เคมีบำบัดสำหรับโรคมะเร็ง. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร 2541; 3(1):78-85.

9. Iacovelli LM, Persson BL. Management of Chemotherapy-Induced Neutropenia: Opportunities for Pharmacist Involvement. Hospital Pharmacy 2008; 43(6): 472-84.

10. ธิดา พึ่งทหาร, อรอุมา รุ่งวิริยะวณิช, สุภัทศร กลับเจิญ, วัฒนชุย สุแสงรัตน์. ภาวะไข้ละเม็ดเลือดขาวต่ำในโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่นเวชสาร 2549; 30(2): 111-21.