ไข้เดงกี(DF) และไข้เลือดออกเดงกี(DHF) ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

Main Article Content

บุษรา เทพาวัฒนาสุข

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา และวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการแสดง และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกีที่มารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2553 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2553 พบผู้ป่วย 336 ราย เป็นไข้เดงกี (DF) จำนวน 103 ราย ไข้เลือดออกเดงกี (DHF) จำนวน 233 ราย ในจำนวนนี้มีไข้เลือดออกที่ช็อก(DSS) จำนวน 13 ราย อัตราส่วนเพศชาย : เพศหญิง ใกล้เคียงกัน กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-25 ปี พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี เดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีผู้ป่วยมารักษามากที่สุดผู้ป่วยทุกรายมีอาการไข้นำพบได้ 2-9 วัน อาการที่พบมากในไข้เดงกีคือ ปวดเมื่อยตามร่างกายร้อยละ 73.8 อาการอาเจียน, ปวดท้อง, อาการเลือดออก, ตับโตและกดเจ็บ, ผื่นระยะไข้ลด พบในผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีมากกว่าผู้ป่วยไข้เดงกีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการตรวจ CBC 1 วัน ก่อนไข้ลง พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีเม็ดเลือดขาวลดลง ≤ 5,000 เซลล์/ลบ.มม. ในผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีพบเกล็ดเลือดต่ำกว่าผู้ป่วยไข้เดงกีโดยร้อยละ 55.8 พบเกล็ดเลือด < 50,000 เซลล์/ลบ.มม. ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกเดงกีพบมากที่สุด คือ Grade I ร้อยละ 70.4 รองลงไปคือ Grade II ร้อยละ 24, Grade III ร้อยละ 5.6 ไม่พบ Grade IV ภาวะแทรกซ้อนที่พบ คือ เลือดออกผิดปกติ, ช็อก, ภาวะน้ำเกินและหัวใจเต้นช้า การวินิจฉัยได้ถูกต้อง รวดเร็ว โดยอาศัยอาการ อาการแสดงทางคลินิก การตรวจติดตามทางห้องปฏิบัติการ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที เมื่อเข้าสู่ภาวะวิกฤตของโรคทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร. Dengue Fever and Dengue Hemorrhagic Fever ในผู้ใหญ่ และแนวทางการรักษา. ใน: พรรณพิศ สุวรรณกูล, ชุษณา สวนกระต่าย, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, บรรณาธิการ. An Update on Infectious Diseases. กรุงเทพมหานคร: สทรีทพริ้นติ้ง; 2549. หน้า 237-65.

2. ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, สุจิตรา นิมมานิตย์. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี, ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2546.

3. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำ ปี2551, 2552, 2553.

4. งานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานสถานการณ์ไข้เลือดออกรวม 2553. สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี; 2553.

5. คำนวณ อึ้งชูศักดิ์. สถานการณ์และแนวโน้มของโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีในประเทศไทย. ใน: ชิษณุ พันธ์เจริญ, วันล่า กุลวิชิต, ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร, อุษา ทิสยากร, บรรณาธิการ. ไข้เลือดออก. กรุงเทพมหานคร: เพนตากอนแอ็ดเวอร์ไทซิ่ง; 2546. หน้า 11-4.

6. WHO. Technical guides for diagnosis, treatment and control of dengue hemorrhagic fever. W H O 1997: 1-23.

7. รจนา ขอนทอง. โรคไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร พ.ศ.2550. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551; (17 Suppl 3): S757-68.

8. รุจนี สุนทรขจิต. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก และไข้เดงกีในรอบ 10 ปีสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2009; 3(1): 1-9.
9. Tantawichien T, Thisyakorn U, Pisarnpong A, Israsena S, Suwangool P. Dengue fever and dengue hemorrhagic fever in adult. The First International Conference on dengue and dengue hemorrhagic fever [Abstract]; 2000 November 20-24; Chiang-Mai.Thailand; 2000. p.16-7.

10. Rongrungruang Y, Leelarasamee A. Characteristics and outcomes of adult patients with symptomatic dengue virus infections. J Infect Dis Antimicrob Agents 2001; 18(1): 19-23.

11. จอมเทพ หวังสันติตระกูล. ไข้เดงกี (DF) และไข้เลือดออกเดงกี (DHF) ในโรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์สวาทยานนท์. วารสารกรมการแพทย์ 2004: 29: 83-94.

12. ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, ชิษณุ พันธุ์เจริญ และคณะ. ดัชนีที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในระยะแรก, ผลงานวิชาการดีเด่น. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2538.

13. Puncharoen C, Rungsavannunt A, Thisyakorn U. Hepatic dysfunction in dengue patients with various severity. J Med Asso Thai 2002; 85 Suppl: s298-301.

14. Kittigul L, Suankeow K. Use to a rapid immunochromatographic test for early diagnosis of dengue virus infections. Eur J Clin Microbiol Infect Dis 2002; 21: 224-6.

15. Lorekha R, Chokephaibulkit A. Yoksan S, et al. Diagnosis of dengue infection using various diagnosis tests in the early stage of illness. South-east Asian J Trop Med Public Health 2004; 35(2): 391-5.