ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของแรงงานสตรีสูงอายุในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

นิภาดา ธารีเพียร
วันเพ็ญ แก้วปาน
สุรินธร กลัมพากร
วงเดือน ปั้นดี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของแรงงานสตรีสูงอายุในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่มีอายุ 45 - 60 ปี ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 255 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยสถิติไคว์-สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุแบบขั้นตอน


          ผลการวิเคราะห์พบว่า แรงงานสตรีสูงอายุส่วนใหญ่มีความสามารถในการทำงานอยู่ในระดับดีร้อยละ 60.0 และระดับดีมากร้อยละ 19.6 ปัจจัยที่ทำนายความสามารถในการทำงานของแรงงานสตรีสูงอายุในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ภาวะสุขภาพจิตด้านอาการทางกาย การทำงานแบบเข้ากะ ลักษณะงานด้านความมีอิสระในการตัดสินใจในงาน อายุ ภาวะการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน และสิ่งแวดล้อมในการทำงานด้านการยศาสตร์ โดยสามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการทำงานของแรงงานสตรีสูงอายุได้ร้อยละ 21.5 (p-value < 0.001)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Ilmarinen J. Past, present and future of work ability. Finnish Institute of Occupational Health. Finland: n.p.: 2004.

2. Ilmarinen J. Aging workers. Occup Environ Med 2001; 58: 149-60.

3. ภักดี โพธิศิริ. นโยบายการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพชายวัยทองในประเทศไทย. ใน: บัณฑิต จันทะยานี, และคณะ, บรรณาธิการ. เพิ่มสีสันของชีวิตชายวัยทอง ตอน สุขภาพดี ชีวีมีสุข. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; (2545). หน้า 11-9.

4. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สุขภาพผู้สูงอายุไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2551]. เข้าถึงได้จาก: https://www.agingthai.org

5. สมนึก กุลสถิตพร. กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ทเพรส; 2549.

6. World Health Organization (WHO). Aging and Work Capacity. Report of a WHO Study Group. WHO Technical Report Series 835. Geneva: WHO; 1993.

7. Ilmarinen J. Towards a Longer Worklife: Ageing and the quality of worklife in the European Union. Finnish Institute of Occupational Health. Ministry of Social Affairs and Health. Helsinki: 2005.

8. Kumashiro M. Japanese initiatives on aging and work: An occupational ergonomics approach to solving this complex problem. In: M Kumashiro, editors. Aging and work. London and New York: Taylor & Fracis. 2003. p. 1-9.

9. กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม. ศัพท์แรงงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย; 2543.

10. Ilmarinen J. Promoting of work ability during aging. In: Kumashiro M, editors. Aging and work. London and New York: Taylor & Fracis; 2003. p.21-35.

11. Hackman JR, Oldham GR. Work redesign. Massachusetts: Addison Wesley; 1980.

12. Ilmarinen J, Tuomi K, Klockars M. Changes in the work ability of active employees over an 11 year period. Scand J Work Environ Health 1997; 23(1): 49-57.

13. Muldary TW. Burnout and heath professionals: Manifession and Management. L.A.: Acapistrano Publication; 1983.

14. Roger RR, Michael JC. Plain language about shiftwork. Public Health Service. Ohio: Centers for Disease Control and Prevention National Institute for Occupational Safety and Health; 1997.

15. Martinez MC, Latorre MRDO. Health and work ablilty among office workers. Rev Saude Publica 2006; 40(5): 1-7.

16. กรรณิการ์ คูประสิทธิ์. ลักษณะงาน ความโกรธ และความอ่อนล้าทางอารมณ์ที่มีผลต่อความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.

17. Ilmarinen, J. What can we do to support your health and work ability? Work Ability 2010. Helsinki: Finnish Institute of Occupational Health; 2005.

18. Finnish Institute of Occupational Health Helsinki Finland. Aging and work [Internet]. 2008 [cited 2008 Jan 13]; Available from: http://www.ttl.fi/Internet/English/Thematic+pages/Aging+and+work.

19. Pornlert Chumchai. The relationships between driving anger work ability job characteristics and accidents at work among truck drivers [Master degree of public health]. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2007.

20. กองอนามัยครอบครัว, กระทรวงสาธารณสุข. สตรีวัยหมดระดู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก; 2539.

21. ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, ชัชวาลย์ ศิลปกิจ. “ความเชื่อถือได้ และความแม่นตรง ของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย”. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539; 41(1): 2-17.

22. สุภลักษณ์ เชยชม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการทำงานของแรงงานในสถานประกอบการ จังหวัดสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

23. สุลี ทองวิเชียร, วันเพ็ญ แก้วปาน, พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ. ครอบครัวและการทำงาน: ทักษะชีวิตของคู่สมรส. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2549.