ความเข้าใจเกี่ยวกับความตายในพระพุทธศาสนากับจริยธรรมทางการพยาบาลของพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

ศิริมา เทพสุภา
มุกดา ศรียงค์
ฐิรชัย หงษ์ยันตรชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจเกี่ยวกับความตายในพระพุทธศาสนากับจริยธรรมทางการพยาบาลของพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพยาบาลผู้หญิงที่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t test F test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s product-moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า


          1. พยาบาลมีความเข้าใจเกี่ยวกับความตายในพระพุทธศาสนาอยู่ในระดับมาก และมีความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมทางการพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด


          2. พยาบาลที่มีตำแหน่งผู้บริหาร หัวหน้าตึก หรือรองหัวหน้า และพยาบาลปฏิบัติการ มีความเข้าใจเกี่ยวกับความตายในพระพุทธศาสนาและจริยธรรมทางการพยาบาล ด้านรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า พยาบาลที่มีตำแหน่งผู้บริหาร หัวหน้าตึก หรือรองหัวหน้า มีความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมทางการพยาบาลในด้านการปฏิบัติต่อตนเองสูงกว่าพยาบาลปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


          3. ความเข้าใจเกี่ยวกับความตายในพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์ทางบวกกับจริยธรรมทางการพยาบาลของพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ณัฐยา วาสิงหน. ความหมายของความตาย-การตีความตามพุทธปรัชญา [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.

2. สิวลี ศิริไล. จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์ปรีดาการพิมพ์; 2542.

3. นิตยา ปรัชญาจุฑา, และคณะ. การพยาบาลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2536.

4. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970; 30: 607-10.

5. ทัศนา มหานุภาพ, และคณะ. ทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วยและผู้ป่วยใกล้ตายของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาราชนคร เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.

6. ทัศนีย์ ทองประทีป, และคณะ. พุทธธรรมเพื่อการพยาบาล. กรุงเทพฯ: เอกพิมพ์ไท; 2545.

7. สรเมธี วชิรปราการ. ชาติภพมีจริงชาติหน้าคุณจะได้เกิดเป็นอะไร. นนทบุรี: สมาร์ทบุ๊ค; 2550.

8. นันท์นภัส เสืองามเอี่ยม. ภาพลักษณ์เชิงจริยธรรมของวิชาชีพการพยาบาลศึกษาทัศนะของการพยาบาล และประชาชนผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขในเขต กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546.

9. จรูญศรี มีหนองหว้า, และคณะ. การศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี. นนทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์สถาบันพระบรมราชชนก; 2543.

10. ชาคริต สุดสายเนตร. วิธีการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อผ่อนคลายความวิตกกังวลต่อความตายของผู้ป่วยโรคเอดส์ [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.