ความต้องการขยายขอบเขตใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นในคลินิกการพยาบาล และการผดุงครรภ์ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541

Main Article Content

เจริญทิพย์ โชครุ่งรัตนชัย
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
สุธี อยู่สถาพร
ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการขยายขอบเขตใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นในคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มผู้ให้บริการจำนวน 92 คน และผู้ใช้บริการจำนวน 310 คน จากสถานบริการจำนวน 92 แห่ง และสถิติที่ใช้ในการทดสอบ คือ ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ต้องการใช้กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์


          กลุ่มยาออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ และกลุ่มยาปฏิชีวนะร้อยละ 98.9 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ลักษณะสถานที่ตั้งคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่มีระยะห่างจากโรงพยาบาล สมรรถนะและลักษณะของพยาบาลมีความสัมพันธ์กับความต้องการขยายขอบเขตใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนในการศึกษากลุ่มผู้ใช้บริการพบว่า มีอาการปวดศีรษะ ไอ ไข้ และเจ็บคอ ร้อยละ 49.4, 46.5, 44.2 และ 43.2 ตามลำดับ


          ข้อเสนอแนะจากการวิจัย กฎกระทรวงควรขยายขอบเขตการใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นในคลินิกการพยาบาล และการผดุงครรภ์สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองสาขาเวชปฏิบัติทั่วไปจากสภาการพยาบาล เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้บริการทางสุขภาพที่อยู่ในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. อุบล มณีกุล, ศุภราภรณ์ ภูวิศวัชร์. แนวทางการตรวจมาตรฐานคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

2. สภาการพยาบาล. ข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: พี เอ ลีฟวิ่ง; 2551.

3. สภาการพยาบาล. ข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง. ม.ป.ท.: 2545.

4. ทัศนา บุญทอง, สุปราณี อัทธเสรี, นัทธมน ศิริกุล. บทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติต่อการรักษาโรคเบื้องต้นในการให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ. วารสารสภาการพยาบาล 2550; 22(4): 24-37.

5. พรจันทร์ สุวรรณชาต. พยาบาลกับการประกอบวิชาชีพที่อาจถูกฟ้องร้องได้. วารสารสภาการพยาบาล 2552; 24(2): 11-3.

6. แสงทอง ธีระทองคำ, สมจิต หนุเจริญกุล,นงลักษณ์ สุวิสิษฐ์. การรับรู้ประโยชน์สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะของพยาบาลเวชปฏิบัติ ในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2552;24(2):39-49.

7. นัยนา หนูนิล, รวมพร คงกำเนิด, ทัศนียา วังสะจันทานนท์. ประสิทธิผลของการให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิของสถานผดุงครรภ์. วารสารวิจัยทางการพยาบาล 2544; 5(1): 86-106.

8. วิจิตร ศรีสุพรรณ. การพัฒนาการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตเพื่อตอบสนองการปฏิรูประบบบริการสุขภาพไทย. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

9. สำเริง แหยงกระโทก และ รุจิรา มังคละศิริ. คู่มือการดำเนินงานศูนย์สุขภาพชุมชน. นครราชสีมา: โชคเจริญมาเก็ตติ้ง; 2545.

10. อัญชณา ณ ระนอง. พฤติกรรมการใช้บริการด้านสุขภาพความคาดหวัง และผลกระทบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากมุมมองของประชาชน. รายงานวิจัยเล่มที่3 โครงการติดตามประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระยะที่สอง: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2548.

11. ฤษกณี เลิศกิติยศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสถานบริการสุขภาพของประชากรไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2547.

12. สุปราณี อัทธเสรี. ประสิทธิผลของการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของสถานผดุงครรภ์ในจังหวัดนครนายก [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.

13. สมจิตร หนุเจริญกุล. แนวคิดการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในระบบสุขภาพตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. กรุงเทพมหานคร: จุดทอง; 2550.

14. สุมาลี กิตติภูมิ. ประสิทธิผลของการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของสถานผดุงครรภ์เอกชนจังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.