การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับของหอผู้ป่วยอายุรกรรม 5 สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

ณิชาภา ยนจอหอ
ประภัสสร ดาราทิพย์
พิมพ์ชนก ช่วงนาค

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลของหอผู้ป่วยอายุรกรรม5 สถาบันบำราศนราดูร ดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม 2559 ถึง เดือน กรกฎาคม 2560 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 10 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม5 จำนวน 10 คน วิธีดำเนินการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล 2) การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความน่าเชื่อถือของแนวปฏิบัติการพยาบาลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 3) ประเมินความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 30 คน 4) ศึกษานำร่องในผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบประเมินแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ แบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ แบบประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติการพยาบาล แบบประเมินภาวะโภชนาการ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อความสามารถในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับตามบราเดนสเกนก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุด้วยสถิติ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test


           ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับเห็นด้วยว่าแนวปฏิบัติง่ายต่อการนำไปใช้เห็นด้วยในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 85 แนวปฏิบัติมีข้อเสนอแนะชัดเจนมีความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ แนวปฏิบัติสามารถแก้ปัญหาการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยได้และมีความพึงพอใจในแนวปฏิบัติกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 90 การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับใช้ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คนเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติ พบว่าสามารถปฏิบัติได้จริงและได้ผลลัพธ์ตามที่ระบุไว้ในแนวปฏิบัติ และพบว่าคะแนนปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับตามบราเดนสเกลก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) จากผลการวิจัยควรนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้กับผู้ป่วยกลุ่มอื่นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ และควรพิจารณาอัตรากำลังที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยร่วมด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. มาลี ชิดโคกสูง. กระบวนการพัฒนารูปแบบการป้องกัน และการเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2551; 32(1): 124-32.

2. วิจิตร ศรีสุพรรณ และคณะ. การเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย.พยาบาลสาร 2545; 23(3): 1-12.

3. Burenekul A. Pressure ulcer risk factors among hospitalized neurological patients [Master’s Thematic, in Nursing Science]. Pathum Thani: Mahidol University; 2002.

4. ชญานิศ ลือวานิช, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารสภาการพยาบาล 2542; 14(2):17-29.

5. Baltzi E, Dafogianni C. Quality of life and bedsores. ICU and Age & Ageing 2004; 33: 230-5.

6. กาญจนา รุ่งแสงจันทร์, วรรณิภา สายหล่า, จุฬาพร ประสังสิต. เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยด้วยSSIET Bundle. เอกสารการประชุมวิชาการประจำปี 2558 วันที่ 8-9 ธันวาคม 2558.

7. ขวัญจิตร์ ปุ่นโพธิ์, จิณพิชญ์ชา มะมม. การศึกษาผลของกระบวนการดูแลแผลในการส่งเสริมการหายของแผลการลดความเสี่ยงในการเกิดแผลใหม่และความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ. รายงานการวิจัย. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2555.

8. The National Decubitus Foundation. Cost savings through bedsore avoidance. [internet]. 2002 [cited 2016 Oct 15]. Available from: from https://www.leedergroup.com/bulletins/pressure-sores

9. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, ป่วน สุทธิพิจธรรม. การป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังและแผลกดทับ. ใน: สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, บรรณาธิการ. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว; 2539; หน้า 251-65.

10. นลินทิพย์ ตำนานทอง, วีระชัย โควสุวรรณ. รายงานผลการวิจัย: ค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2538.

11. Bergstrom N, Braden B, Kemp M, Champagne M, Ruby E. Multi-site study of incidence of pressure ulcers and the relationship between risk level, demographic, characteristics, diagnoses, and prescription of preventive Interventions. J Am Geriatr Soc 1996; 44(1): 22-30.

12. Dealey C. Monitoring the pressure sore problem in a teaching hospital. The J Adv Nurs 1994; 20: 652-9.

13. Defloor T. The effect of position and mattress on interface pressure .Applied Nursing Research 2000; 13(1): 2-11.

14. วาสนา มิกราช. ได้ศึกษาการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2557; 45(2): 135-49.

15. สถาบันบำราศนราดูร. สรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2559. นนทบุรี. สถาบันบำราศนราดูรว; 5559. (อัดสำเนา)

16. Gould D. Intervention studies to reduce the prevalence and incidence of pressure sores: a literature review. J Clin Nurs 2000; 9:163-77.

17. Taler G. What do prevalence studies of pressure ulcers in nursing homes really tell us. J Am Geriatr Soc 2002; 50(4): 773-774.

18. ชวลี แย้มวงษ์, และคณะ. การลดอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับรูปแบบการดูแลโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารสภาการพยาบาล 2548; 20(1):33-48.