การศึกษาสถานการณ์การใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อคัดกรองเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีในบริการฉีดวัคซีนคลินิกยาต้านไวรัส กุมารเวชกรรม สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

เจริญสุข อัศวพิพิธ
ศวิตา อิสสอาด
ศรีสุดา สมัดชัย

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบย้อนหลัง (Retrospective Cohort Study) เพื่อวิเคราะห์บันทึกทางการพยาบาลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี อายุ 1-18 ปี จำนวน 100 คน มารับบริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2558 ในการให้บริการฉีดวัคซีน คลินิกยาต้านไวรัส กุมารเวชกรรม สถาบันบำราศนราดูร เครื่องมือวิจัยมี 2 ชุดคือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินคุณภาพกระบวนการพยาบาลงานบริการผู้ป่วยนอก เก็บบันทึกข้อมูล 1-30 ธันวาคม 2560 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 51 อายุเฉลี่ย 15 ปี ระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 มากกว่า 24 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 69 ปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือดที่น้อยกว่า 20 copies/ml ร้อยละ 78 ส่วนใหญ่รับประทานยาต้านไว้รัสสูตรดื้อยาเป็นสูตรดื้อยาร้อยละ 52 การได้รับวัคซีนในระบบ EPI ครบร้อยละ 30 และอัตราการได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ร้อยละ 95 จากการศึกษาพบว่า การใช้กระบวนการพยาบาลเพื่อคัดกรองเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีในบริการฉีดวัคซีนคลินิกยาต้านไวรัส ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (X = 4.06, SD = 0.619) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการประเมินผลการพยาบาลอยู่ในระดับสูงมาก (X = 4.96, SD = 0.227) รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลอยู่ในระดับสูง ( X = 4.27, SD = 1.235) และด้านการประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยอยู่ในระดับสูง (X = 3.84, SD = 1.015) ตามลำดับ ส่วนด้านการวางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.49, SD = 1.034)


          ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาลโดยเฉพาะด้านการวางแผนการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการที่อยู่ในระดับปานกลาง โดยระบุระดับความเจ็บป่วยตามที่หน่วยงานกำหนด สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรในด้านการบันทึกการพยาบาล และจัดระบบการตรวจสอบประเมินผลการบันทึกทางการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สํานักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.

2. ทัศนีย์ ทองประทีป, เบญจา เตากล่ำ. การบันทึกทางการพยาบาลกับการประกันคุณภาพการพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล 2543; 15(2): 1-11.

3. Bello HT. Knowledge and practice of documentation among nurses in Ahmadu Bello University Teaching Hospital (Abuth) Zaria, Kaduna State. IOSR-JNSH 2015; 4(6): 1-6.

4. Ward MF, Stuart G. Case management: perspectives of the United Kingdom and US system. In: Harrison M, Mitchell D,editors. Current issues in acute mental health nursing. Sage. London: n.p; 2004.

5. พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาลแบบแผนการประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร; 2552.

6. สภาการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาล 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_0030.PDF

7. Garcia A PRF, Pedreira de Freitas MI, Lamas J LT, Toledo VP. Nursing process in mental health: an integrative literature review [Internet]. São Paulo: Campinas; 2017 [cited 2019 Oct 13]. 11 p. Available from: www.scielo.br/scielo.php?pid=S0034-71672017000100220&script=sci_arttext&tlng=en

8. Kurtz CA. Accurate documentation equals quality patient care. Insight [Internet]. 2002 [cited 2019 Jun 13]; 27(1): 8-10. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11962063

9. ปัตติมาศ เพ็ชรเจริญ, นิตยา นราพิสุทธิ์. ความร่วมมือในการใช้บันทึกทางการพยาบาลแบบใหม่ของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2552; 6(2): 96-106.

10. เกษราภรณ์ บรรณวงศิลป์. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลตึกอายุรกรรมศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.


11. ฐิติขวัญ นวมะชิติ. การพัฒนารูปแบบบันทึกทางการพยาบาลแบบปัญหาชี้เฉพาะของกลุ่มงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

12. Kim YJ, Park HA. Analysis of nursing records of cardiac-surgery patients based on the nursing process and focusing on nursing outcomes. Int J Med Inform 2005; 74 (11-12): 952-9.

13. สถาบันบำราศนราดูร, หน่วยงานผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม. รายงานข้อมูลสถิติเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีประจำปี. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2558. (อัดสำเนา)

14. สุเมธ องค์วรรณดี, ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์, รังสิมา โล่ห์เลขา, เอกจิตรา สุขกุล, บรรณาธิการ. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2557.

15. กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, เกษวดี ลาภพระ, จุฑารัตน์ เมฆมัลลิกา, ฐิติอร นาคบุญนำ, อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์, บรรณาธิการ. ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2556.

16. สถาบันบำราศนราดูร, หน่วยงานกลุ่มการพยาบาล. รายงานข้อมูลสถิติการตรวจบันทึกทางการพยาบาลประจำปี 2555-2557. นนทบุรี: สถาบันบำราศนราดูร; 2557. (อัดสำเนา)

17. เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://krupee.blogspot.com/2009/09/rating-scale.html

18. Holanda da Cunha G, Galvãoa M TG, Martins de Medeiros C, Rocha RP, Lima M AC, Fechine FV. Vaccination status of people living with HIV/AIDS in outpatient care in Fortaleza, Cearã, Brazil. Braz J Infect Dis 2016; 20(5): 487-93.

19. ทรงกลด เจริญศรี. ผลการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปรึกษาเพื่อเปิดเผยสภาวะการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์แก่เด็ก คลินิกยาต้านไวรัสเด็ก โรงพยาบาลสกลนคร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://aidssti.ddc.moph.go.th/researchs/view/2877

20. พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ. การรักษาวัณโรค: DOT vs VOT. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2561; 12(1): 43-7.

21. ศุภมาศ อุ่นสากล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะล้มเหลวทางไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่รักษาด้วยยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 2558; 13(3): 47-58.

22. นัชชา แสงวัชรสุนทร. การทำงานวัณโรคในสังคมเมืองยากจริงหรือ. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2561; 12(2): 97-104.

23. พันธ์ทิพย์ แก้วดวงใจ, อรวรรณ เอียดทอง, อารี รามโกมุท. การดูแลด้านจิตสังคมในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ณ สถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2561; 12(3): 157-60.