การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบสุขภาพ : ประเด็นการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

ประเสริฐ โพธิ์มี

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบสุขภาพ : การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอจังหวัดอุทัยธานี โดยใช้แบบจำลอง CIPP ของสตัฟเฟิลบีม ด้วยการประเมิน 4 ด้าน มีบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง 145 คน จาก 3 หน่วยงาน เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการศึกษา พบว่า 1) ด้านบริบท โครงการแผนกิจกรรมมีความสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งปัญหาสุขภาพในพื้นที่ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารให้การสนับสนุน ทีมบุคลากรมีความพร้อมและเพียงพอ แต่มีข้อจำกัดด้านการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรในการดำเนินโครงการ 3) ด้านกระบวนการ มีการสร้างความเข้าใจในการประเมินปัญหา ประสานงานและจัดการปัญหาร่วมกันในทุกระดับ และ 4) ด้านผลผลิตเกิดกิจกรรมโครงการ นวัตกรรม กลุ่มเครือข่ายที่ช่วยเหลือการขับเคลื่อนการพัฒนางานสาธารณสุขตามประเด็นปัญหาในพื้นที่ ได้แก่ อำเภอลานสัก : โรงเรียนผู้สูงอายุ อำเภอเมือง : การพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว และอำเภอหนองขาหย่าง : การป้องกันไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วม


          การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ ควรมีการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ 3-5 ปี และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ กลุ่ม/ชมรม/ภาคีเครือข่ายอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งด้านการวางแผน การดำเนินกิจกรรม การจัดการงบประมาณ และการติดตามประเมินผล


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. มปท.: 2552.

2. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2552. นนทบุรี: วิกิ จำกัด; 2552.

3. Nooshin Mohebbi, Faezeh Akhlaghi, Mohammad Hossein,Yarmohammadian, Masumeh Khoshgam. Application of CIPP model for evaluating the medical records education course at Master of Science level at Iranian medical sciences universities. Procedia Social and Behav Sci 2011; 15(1): 3286-90.

4. Daniel WW. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences 6th ed. New York: John Wiley & Sons; 1995.

5. สมพิศ สุขแสน. CIPP model: รูปแบบการประเมินผลโครงการ. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง " เทคนิคการวางแผนและการประเมินผล" แก่เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. 25 พฤศจิกายน 2545; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. แพร่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. 2545.

6. จีรนันท์ ชุ่มคุณ. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลเมืองยาง อำเภอยาง จังหวัดนครราชสีมา [รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

7. วัฒนา นันทะเสน. การประเมินผลการพัฒนางานระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System: DHS) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2558; 7(30): 105-13.

8. สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

9. บัณฑิต วรรณประพันธ์. รายงานการประเมินผลเชิงคุณภาพการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ เรื่องอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนในพื้นที่สาธารณสุขเขต 14. นครราชสีมา: มปท; 2555.

10. จุมพล หนิมพานิช. การวิเคราะห์นโยบายขอบข่ายแนวคิดทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง. พิมพ์ครั้ง ที่ 4. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช; 2552.

11. Stuffle beam, D.L. Evaluation theory, models, and applications. San Francisco: Jossey-Bass; 2007.

12. วรเดช จันทรศร. ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค; 2556.

13. Gail D Armitage, Esther Suter, Nelly D Oelke, Carol E Adair. Health system integration: State of the evidence. IJIC 2009; 9(1): 1-9.