การพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดกระดูกต้นขา : กรณีศึกษา 2 ราย

Main Article Content

นาตยา ปริกัมศีล

บทคัดย่อ

          ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดกระดูกต้นขาหัก ส่วนใหญ่เกิดจากความรุนแรงของการหัก การผ่าตัดและปัจจัยอื่นๆ ภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่มักจะเกิดภายหลังการผ่าตัดหนึ่งสัปดาห์ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและนอนนาน ได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อแผลผ่าตัดและระบบอื่นๆซึ่งการติดเชื้อบางระบบแม้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่มากนัก แต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยรุนแรงถึงทุพลภาพและเสียชีวิตได้ สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น จากข้อมูลการติดเชื้อในโรงพยาบาลโพธาราม พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง และมีการบาดเจ็บที่ตำแหน่งอื่นร่วมด้วย ทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆก่อนการผ่าตัด มีจำนวนเข้ารับการรักษาเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2560 และมีอัตราติดเชื้อแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดนอกจากการติดเชื้อแผลผ่าตัดสูงขึ้น
          วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้ เพื่อทบทวนกระบวนการพยาบาลในรายกรณีศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกหักต้นขาหักที่พบการติดเชื้อในกระแสเลือด และปอดอักเสบเป็นรูปแบบกรณีศึกษาเชิงลึก 2 รายที่มีภาวะกระดูกต้นขาหักจากการเกิดอุบัติเหตุ และได้รับการผ่าตัดใส่โลหะดามกระดูกต้นขา หลังการผ่าตัดเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดผู้ป่วยต้องย้ายไปดูแลด้านหัวใจและหลอดเลือดที่แผนกอายุรกรรม เพิ่มระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานขึ้น ส่วนอีกรายพบว่ามีการติดเชื้อปอดอักเสบหลังการผ่าตัดในเวลา 48 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง หลายอย่างก่อนการผ่าตัดที่ส่งเสริมให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น ในภาวะการติดเชื้อเหล่านี้พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยจะ ต้องมีการวางแผนและวางแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดกระดูกต้นขาหัก เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ รวมทั้งมีการดูแลตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อของโรงพยาบาลจนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นสามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งการศึกษาในรูปแบบกรณีศึกษาเชิงลึกนี้ได้พัฒนาแนวทางปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักได้อย่างครอบคลุมเป็นแนวทางเดียวกัน

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากร สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/elderlyworkFullReport57-1.pdf/2557

2. ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2560; 5(2): 119-31.

3. นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา กำวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; ม.ป.ป.

4. Ryan SP, DiLallo M, Attarian DE, Jiranek WA, Seyler TM. Conversion vs Primary Total Hip Arthroplasty: Increased cost of care and perioperative complications. J Arthroplasty 2018; 33(8): 2405-11.

5. จิตตินัน ส่องแสงจันทร์.การพยาบาลผู้ป่วยคอสะโพกหักโรงพยาบาลตากสิน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557; 3(23): 98-109.

6. Haidukewych GJ, Langford J. Subtrochanteric fractures. In: Bucholz RW, Heckman JD, Court-Brown CM, Tornetta P, editors. Rockwood and Green’s fractures in adults. 7th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2010. p. 1655-718.

7. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลโพธาราม. รายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปี2560. ราชบุรี: โรงพยาบาลโพธาราม; 2560.

8. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คู่มือการใช้ยาสำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 10. เชียงใหม่: กราฟฟิคซิสเท็มส์; 2558.

9. ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. การอบรมฟื้นฟูวิชาการพยาบาลออร์โธปิดิคส์ ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

10. วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: เอ็นพีเพรส; 2558.

11. ศิริพร ปิติ, มานะ อารี. การประเมินและเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2556.

12. อรพินท์ สีขาว. การจัดการโรคเบาหวาน: มิติของโรคและบทบาทพยาบาล. กรุงเทพฯ: เอ็มมแอนด์ เอ็ม เลเซอร์ พริ้นส์; 2558.

13. อะเคื้อ อุณหเลขกะ. ระบาดวิทยาและแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. เชียงใหม่: มิ่งเมือง; 2556.

14. Robert SM. Sepsis and septic shock. In: Braunwald, Fauci, Kasper, Hauser, Longo, Jameson, editors. Harrison’s principles of internal medicine. 19thed. New York: McGrawHill; 2016. p. 144-52.

15. Mandell GL, JOHN E. Bennett JE, Dolin R. Principles and practice of infectious disease. 6th ed. New York: Elsevier Churchill Livingstone; 2014.