การประเมินประสิทธิผลการพัฒนาสถานบริการเชี่ยวชาญโรคเรื้อนในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาสถานบริการเชี่ยวชาญโรคเรื้อน โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินซิป (CIPP model) ประชากรคือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถานบริการฯ เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง ประกอบด้วย บุคลากรส่วนกลาง ผู้รับผิดชอบงานโรคเรื้อนของสำนักงานป้องกันควบคุมโรค บุคลากรของสถานบริการฯ ผู้ป่วยโรคเรื้อน รวม 91 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวม บุคลากรส่วนกลาง มีอายุเฉลี่ย 57 ปี ผู้ป่วยมีรายได้เฉลี่ย 3,620 บาทต่อเดือน ร้อยละ 44.3 ของบุคลากรสถานบริการฯไม่เคยอบรมโรคเรื้อน ด้านบริบท การพัฒนาสถานบริการฯ เหมาะสมกับสถานการณ์และจำเป็นต่อเครือข่ายการบริการโรคเรื้อน และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน ด้านปัจจัยเบื้องต้น เกณฑ์ในการเลือกพื้นที่และสถานบริการฯเหมาะสม ความพร้อมด้านนโยบายและการสนับสนุนของผู้บริหารสถานบริการฯไม่เพียงพอ การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกเพียงพอ บุคลากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานโรคเรื้อนครบถ้วน หลักสูตรอบรมเหมาะสมครอบคลุม ด้านกระบวนการ กระบวนการเลือกสถานบริการฯ การวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาเหมาะสม กระบวนการฝึกอบรมเพียงพอเหมาะสมเพียงบางด้าน กระบวนการนิเทศติดตามงานและการตรวจสอบคุณภาพการตรวจเชื้อโรคเรื้อนเพียงพอเหมาะสม ด้านผลผลิต บุคลากรมีความรู้พื้นฐานโรคเรื้อนสูง ไม่มีทัศนคติลบ แต่ยังมีผู้ขาดความรู้และทักษะเฉพาะวิชาชีพ งานโรคเรื้อนยังไม่ได้มาตรฐาน ผู้วิจัยเสนอให้เตรียมบุคลากรทดแทนผู้ที่จะเกษียณราชการของหน่วยงานส่วนกลาง สนับสนุนผู้ป่วยในการเดินทางเพื่อรับการรักษา พัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนสถานบริการฯในการกำหนดนโยบายและสนับสนุนการปฏิบัติงาน ปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรม หาแนวทางปรับปรุงงานโรคเรื้อนที่ยังไม่ได้มาตรฐาน สร้างเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเสนอให้วิจัยความครอบคลุมงานโรคเรื้อนของสถานบริการฯ ในพื้นที่ที่มีข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยา ประเมินมาตรฐานงานโรคเรื้อนของโรงพยาบาลอื่นๆ ประเมินประสิทธิผลของสถานบริการฯ สำรวจค่าใช้จ่ายและความสามารถในการจ่ายของผู้ป่วย
ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวม บุคลากรส่วนกลาง มีอายุเฉลี่ย 57 ปี ผู้ป่วยมีรายได้เฉลี่ย 3,620 บาทต่อเดือน ร้อยละ 44.3 ของบุคลากรสถานบริการฯไม่เคยอบรมโรคเรื้อน ด้านบริบท การพัฒนาสถานบริการฯ เหมาะสมกับสถานการณ์และจำเป็นต่อเครือข่ายการบริการโรคเรื้อน และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน ด้านปัจจัยเบื้องต้น เกณฑ์ในการเลือกพื้นที่และสถานบริการฯเหมาะสม ความพร้อมด้านนโยบายและการสนับสนุนของผู้บริหารสถานบริการฯไม่เพียงพอ การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกเพียงพอ บุคลากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานโรคเรื้อนครบถ้วน หลักสูตรอบรมเหมาะสมครอบคลุม ด้านกระบวนการ กระบวนการเลือกสถานบริการฯ การวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาเหมาะสม กระบวนการฝึกอบรมเพียงพอเหมาะสมเพียงบางด้าน กระบวนการนิเทศติดตามงานและการตรวจสอบคุณภาพการตรวจเชื้อโรคเรื้อนเพียงพอเหมาะสม ด้านผลผลิต บุคลากรมีความรู้พื้นฐานโรคเรื้อนสูง ไม่มีทัศนคติลบ แต่ยังมีผู้ขาดความรู้และทักษะเฉพาะวิชาชีพ งานโรคเรื้อนยังไม่ได้มาตรฐาน ผู้วิจัยเสนอให้เตรียมบุคลากรทดแทนผู้ที่จะเกษียณราชการของหน่วยงานส่วนกลาง สนับสนุนผู้ป่วยในการเดินทางเพื่อรับการรักษา พัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนสถานบริการฯในการกำหนดนโยบายและสนับสนุนการปฏิบัติงาน ปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรม หาแนวทางปรับปรุงงานโรคเรื้อนที่ยังไม่ได้มาตรฐาน สร้างเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเสนอให้วิจัยความครอบคลุมงานโรคเรื้อนของสถานบริการฯ ในพื้นที่ที่มีข้อบ่งชี้ทางระบาดวิทยา ประเมินมาตรฐานงานโรคเรื้อนของโรงพยาบาลอื่นๆ ประเมินประสิทธิผลของสถานบริการฯ สำรวจค่าใช้จ่ายและความสามารถในการจ่ายของผู้ป่วย
Article Details
How to Cite
บท
บทความวิจัย
References
1. ธีระ รามสูต. 50 ปี ราชประชาสมาสัยแห่งการสนองพระราชปณิธาน. กรุงเทพ: มาสเตอร์คีย์; 2553.
2. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการวางแผนการดำเนินงานกำจัดโรคเรื้อน; 25-27 สิงหาคม 2552; โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดอยุธยา. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2552. (อัดสำเนา)
3. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 2553-2557. สมุทรปราการ: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2552. (อัดสำเนา)
4. World Health Organization. Enhanced global strategy for further reducing the disease burden due to leprosy (Plan Period: 2011-2015). New Delhi: WHO; 2009.
5. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. รายงานการประชุมเรื่องโครงการศึกษาพัฒนารูปแบบสถานบริการควบคุมโรคเรื้อนในสภาวะความชุกโรคต่ำ; 15 พฤศจิกายน 2553; ห้องประชุมธีระ รามสูต สถาบันราชประชาสมาสัย จังหวัดนนทบุรี: มปท.; 2553. (อัดสำเนา)
6. เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
7. Stufflebeam DL. CIPP evaluation model checklist: a tool for applying the CIPP model to assess projects and programs [Internet]. 2015 [cited 2019 Apr 11]. Available from: https://wmich.edu/sites/default/files/attachments/u350/2018/cipp-model-stufflebeam.pdf
8. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. คู่มือการตรวจรับรองคุณภาพการกำจัดโรคเรื้อน. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2549.
9. Kerr-Pontes LR, Montenegro AC, Barreto ML, Werneck GL, Feldmeier H. Inequality and leprosy in Northeast Brazil: an ecological study. Int J Epidemiol 2004; 33(2):262-9.
10. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 6 ปี (2558-2563). สมุทรปราการ: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2557. (อัดสำเนา)
11. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2553.
12. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคเรื้อน 2507-2560. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2561. (อัดสำเนา)
13. วันชัย วัฒนศัพท์. การมีส่วนร่วมกับการพัฒนาองค์กร. เอกสารประกอบการประชุมการสัมมนานายจ้างและลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจเรื่องระบบทวีภาคีกับการแก้ปัญหาแรงงานในรัฐวิสาหกิจ; มีนาคม 2546; โรงแรมพัทยาเซนเตอร์ เมืองพัทยา ชลบุรี. มปท.; 2546.
14. National Health and Medical Research Council, Australian Government. Statement on consumer and community involvement in health and medical research [Internet]. 2016 [cited 2019 Apr 11]. Available from: https://www.nhmrc.gov.au/sites/default/files/documents/ reports/consumer-community-involvement.pdf
15. Ewhrudjakpor C. Health care providers knowledge as correlates of their attitudes towards leproy sufferers in Nigeria. Ethno-Med 2008; 2(2): 115-20.
16. สุมิตรา ชูแก้ว, ยุพาพิน ศรีโพธิ์งาม, วรรณภา ประไพพานิช. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลในการช่วยเหลือและสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555; 18(2): 249-58.
2. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการวางแผนการดำเนินงานกำจัดโรคเรื้อน; 25-27 สิงหาคม 2552; โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จังหวัดอยุธยา. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2552. (อัดสำเนา)
3. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 2553-2557. สมุทรปราการ: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2552. (อัดสำเนา)
4. World Health Organization. Enhanced global strategy for further reducing the disease burden due to leprosy (Plan Period: 2011-2015). New Delhi: WHO; 2009.
5. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. รายงานการประชุมเรื่องโครงการศึกษาพัฒนารูปแบบสถานบริการควบคุมโรคเรื้อนในสภาวะความชุกโรคต่ำ; 15 พฤศจิกายน 2553; ห้องประชุมธีระ รามสูต สถาบันราชประชาสมาสัย จังหวัดนนทบุรี: มปท.; 2553. (อัดสำเนา)
6. เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
7. Stufflebeam DL. CIPP evaluation model checklist: a tool for applying the CIPP model to assess projects and programs [Internet]. 2015 [cited 2019 Apr 11]. Available from: https://wmich.edu/sites/default/files/attachments/u350/2018/cipp-model-stufflebeam.pdf
8. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. คู่มือการตรวจรับรองคุณภาพการกำจัดโรคเรื้อน. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2549.
9. Kerr-Pontes LR, Montenegro AC, Barreto ML, Werneck GL, Feldmeier H. Inequality and leprosy in Northeast Brazil: an ecological study. Int J Epidemiol 2004; 33(2):262-9.
10. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์โรคเรื้อน 6 ปี (2558-2563). สมุทรปราการ: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2557. (อัดสำเนา)
11. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2553.
12. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคเรื้อน 2507-2560. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2561. (อัดสำเนา)
13. วันชัย วัฒนศัพท์. การมีส่วนร่วมกับการพัฒนาองค์กร. เอกสารประกอบการประชุมการสัมมนานายจ้างและลูกจ้างภาครัฐวิสาหกิจเรื่องระบบทวีภาคีกับการแก้ปัญหาแรงงานในรัฐวิสาหกิจ; มีนาคม 2546; โรงแรมพัทยาเซนเตอร์ เมืองพัทยา ชลบุรี. มปท.; 2546.
14. National Health and Medical Research Council, Australian Government. Statement on consumer and community involvement in health and medical research [Internet]. 2016 [cited 2019 Apr 11]. Available from: https://www.nhmrc.gov.au/sites/default/files/documents/ reports/consumer-community-involvement.pdf
15. Ewhrudjakpor C. Health care providers knowledge as correlates of their attitudes towards leproy sufferers in Nigeria. Ethno-Med 2008; 2(2): 115-20.
16. สุมิตรา ชูแก้ว, ยุพาพิน ศรีโพธิ์งาม, วรรณภา ประไพพานิช. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลในการช่วยเหลือและสร้างเสริมสุขภาพของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555; 18(2): 249-58.