ความสัมพันธ์คุณภาพการบริการตามความคาดหวัง และการรับรู้ของผู้คลอดที่สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

ประยูร พรหมทัต
จตุพร วงศ์วัฒนากานต์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการ และความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการตามความคาดหวัง และการรับรู้ของผู้คลอดสถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มารับบริการฝากครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2561 และมารดาคลอดในช่วงเดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนเมษายน 2561 จำนวน 240 ราย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป คุณภาพการบริการในห้องคลอดตามความคาดหวัง คุณภาพการบริการในห้องคลอดตามการรับรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพการบริการตามความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.80, SD = 0.275) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้คลอดมีความคาดหวังต่อด้านความเชื่อมั่นในการบริการอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.87, SD = 0.525) รองลงมาคือ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ (X = 4.85, SD = 0.310) ตามลำดับ และการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.38, SD = 0.47) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้คลอดมีการรับรู้ต่อคุณภาพการบริการด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.52, SD = 0.522) รองลงมาคือ ด้านความเชื่อมั่นในการบริการ (X = 4.48, SD = 0.525) ตามลำดับ คุณภาพการบริการตามความคาดหวัง และรายได้มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริการตามการรับรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอายุไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริการตามการรับรู้ ควรศึกษาคุณภาพการบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของมารดาฝากครรภ์ในไตรมาสอื่นด้วย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล และตอบสนองความต้องการผู้รับบริการอย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. พิศมัย กองทรัพย์. คุณภาพการพยาบาลในระยะคลอดและระยะหลังคลอดตามการรับรู้ของผู้คลอดในโรงพยาบาลสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

2. กัลยา สร้อยสิงห์. ความคาดหวังและการรับรู้ต่อความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการโรงแรมในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี 2559; 25 (1): 217-38.

3. ธัญรดี จิรสินธิปก. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักการพยาบาลกรมการแพทย์; 2551.

4. รุ้งเพชร มีธัญญากร, สุทธีพร มูลศาสตร์. คุณภาพบริการในห้องคลอดตามความคาดหวังและการรับรู้ของมารดาคลอดในโรงพยาบาลนครนายก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2558; 9(2): 135-49.

5. ธนิยา กุสุมาลย์. การศึกษาความคาดหวังของผู้รับบริการต่อการให้บริการงานห้องคลอดโรงพยาบาลโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก:http://r2r-phochai.blogspot.com/2016/09/blog-post.html