รายงานผู้ป่วยโรคฝีในต่อมลูกหมากจากการติดเชื้อ Burkholderia pseudomallei: กรณีศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคเมลิออยด์เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบชนิดแท่งที่พบได้ทั่วไปในดินและน้ำในแหล่งที่มีการระบาด มีรายงานการพบเชื้อได้บ่อยที่บริเวณทางเหนือของประเทศออสเตรเลียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื้อนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ผ่านทางผิวหนังที่สัมผัสดินและน้ำผ่านทางการรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน หรือผ่านทางการหายใจเอาฝุ่นดินเข้าไปในปอด ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ในทุกอวัยวะของร่างกายรวมทั้งที่ต่อมลูกหมาก อย่างไรก็ตามการเกิดฝีในต่อมลูกหมากพบได้ไม่บ่อยในประเทศไทย บทความนี้เป็นการรายงานผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ที่เกิดฝีในต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นฝีในต่อมลูกหมากจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณช่องท้อง และได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อระบายหนองออก ร่วมกับได้รับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดจนอาการดีขึ้น สามารถเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานและสามารถกลับบ้านได้โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
Article Details
References
2. Suputtamonkol Y, Hall AJ, Dance DA, Chaowagul W, Rajchanuvong A, Smith MD, et al. The epidemiology of melioidosis in Ubon Ratchatani, northeast Thailand. Int J Epidemiol 1994; 23: 1082-90.
3. Cheng AC, Currie BJ. Melioidosis: Epidemiology, Pathophysiology, and Management. Clin Microbiol Rev 2005; 18(2): 383-416.
4. Tan JK, Yip SK, Png DJC, Moorthy P. Primary melioidotic prostatic abscess: presentation, diagnosisand management. ANZ J Surg 2002; 72: 408-10.
5. Morse LP, Moller CC, Harvey E, Ward L, Cheng AC, Carson PJ, et al. Prostatic abscess due to Burkholderia pseudomallei: 81 cases from a 19 year prospective melioidosis study. J Urol 2009; 182: 542-7.
6. Dhiensiri T, Eua-Ananta Y. Visceral abscess in melioidosis. J Med Assoc Thai 1995; 78: 225.
7. Thornhill BA, Morehouse HT, Coleman P, Hoffman-Tretin JC. Prostatic abscess: CT and sonographic findings. Am J Roentgenol 1987; 148(5): 899-900.
8. Lim KS, Chong VH. Radiological manifestations of melioidosis. Clin Radiol 2010, 65: 66-72.
9. Collado A, Palou J, Garcia-Penit J, Salvador J, de la Torre P, Vicente J. Ultrasound-guided needle aspiration in prostatic abscess. Urology 1999; 53: 548-52.
10. Liu KH, Lee HC, Chuang YC, Tu CA, Chang K, Lee NY, et al. Prostatic abscess in Southern Taiwan: another invasive infection caused predominantly by Klebsiella pneumoniae. J Microbiol Immunol Infect 2003; 36: 31-6.
11. Barozzi L, Pavlica P, Menchi I, De Matteis M, Canepari M. Prostatic abscess: diagnosis and treatment. Am J Roentgenol 1998; 170: 753-7.