พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการในผู้ติดเชื้อเอชไอวีวัยรุ่น

Main Article Content

เกียรติศักดิ์ แหลมจริง
พิมพ์มาศ เกิดสมบัติ
อัมพิกา ใจคำ

บทคัดย่อ

          มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่พบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการกับความรู้หรือพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยเอชไอวี การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ พฤติกรรมการบริโภคอาหารกับภาวะโภชนาการ, ความรู้พฤติกรรมการบริโภคอาหารกับปริมาณสารอาหารที่ได้รับ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และสารอาหารที่ได้รับในผู้ติดเชื้อเอชไอวีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์การบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับสูงร้อยละ 93.3 พฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับไม่เหมาะสมร้อยละ 93.3 ภาวะโภชนาการ (น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง) อยู่ในเกณฑ์สมส่วนร้อยละ 70.0 ค่อนข้างผอมและผอมร้อยละ 16.7 ภาวะโภชนาการ (ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ) อยู่ในเกณฑ์สูงตามเกณฑ์และสูง ร้อยละ 83.3 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับภาวะโภชนาการ (ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับภาวะโภชนาการ (น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง)ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) และพฤติกรรมการบริโภคอาหารกับภาวะโภชนาการไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) 


          ผลจากการวิเคราะห์สารอาหารจากโปรแกรมสำเร็จรูป Thai Nutri Survey พบว่า ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับสารอาหารที่ได้รับต่อวัน ยกเว้นวิตามินเอและซีที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่สัมพันธ์กับสารอาหารที่ได้รับต่อวัน ยกเว้นวิตามินเอที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.020) ซึ่งการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาซ้ำเพื่อการนำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น และใช้แบบประเมินความถี่การบริโภคอาหารในการประเมินพลังงานและสารอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. World Health Organization. HIV/AIDS [internet]. 2017 [cited 2018 October 19]. Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hiv-aids

2. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.aidssti.ddc.moph.go.th/home

3. Hsu JW-C, Pencharz PB, Macallan D, Tomkins A, editors. Macronutrients and HIV/AIDS: a review of current evidence. Consultation on Nutrition and HIV/AIDS in Africa: Evidence, lessons and recommendations for action; 2005 April 10-13; Durban, South Africa: WHO; 2005.

4. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. การส่งเสริมโภชนาการในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังไม่มีอาการ. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2543.

5. Association of Nutrition Services Agencies. ANSA Nutrition Guidelines and Fact Sheets. Washington,DC: ANSA; 2006.

6. ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์, วรางคณา อุดมทรัพย์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560; 28(1): 122-8.

7. วิภากร สอนสนาม. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จากhttp://www.elnurse.ssru.ac.th/wipakon_so/pluginfile.php/163/block_html/content.pdf

8. วาสนา พัวปัญญา, บุญสม แพงดี, คำเส็ง พิลาวง. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเมือง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2558; 8(4): 50-6.

9. Kuria EN. Food consumption and nutritional status of people living with HIV/AIDS (PLWHA): a case of Thika and Bungoma Districts, Kenya. Public Health Nutr 2009; 13(4): 475-9.

10. รุจนี สุนทรขจิต, ดวงมณี สุวรรณมาศ, รัชนี เชื้อเทศ, บุษกร สันติสุขลาภผล, นฤภัค บุญญฤทธิภัทร์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะไขมันในเลือดผิดปกติในเด็กติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัส. วารสารควบคุมโรค 2551; 34(4): 461-70.

11. Bloom BS, Hastings JT, Madaus GF. Hand book on formative and summative evaluation of student learning. New York: Mcgraw-Hill Book; 1975.

12. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: จามจุรี; 2549.

13. กองโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการใช้เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูงเพื่อประเมินภาวะการเจริญเติบโตของเด็กไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2547.

14. ปิยรัตน์ จิตรภักดี, ทัศนันท์ ทุมมานนท์, อารีรัตน์ บากาสะแต. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2557; 44(3): 250-9.