พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

นุชษญากร คณาภรณ์ทิพย์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร และความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพสะ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง กลุ่มประชากร คือ ผู้ป่วย เบาหวานที่มารับบริการคลินิกโรคเบาหวาน จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และหาค่าความชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ความรู้เกี่ยวกับโรค เบาหวานได้เท่ากับ 0.72 และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานได้เท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ การทดสอบ Chi-square และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


          ผลการศึกษา พบว่า ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีความรู้ระดับสูง ร้อยละ 47.80 และระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 2.33 (SD = 0.17) ตัวแปร ลักษณะทางประชากรมี 4 ตัวแปร ได้แก่ อายุ รายได้ ระยะเวลาป่วย และระดับน้ำตาลในเลือด มีความสัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ด้านสาเหตุของโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโดยความสัมพันธ์อยู่ในระดับน้อย (p = 0.046, r = 0.186) ส่วนด้านอาการและภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน ด้านการรักษาโรคเบาหวาน ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และภาพรวมความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์ทิศทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย โดยความสัมพันธ์อยู่ในระดับน้อย (p = 0.024, r = 0.210)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

2. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน (E10-E14) ต่อประชากร 100,000 คน (รวมทุกการวินิจฉัยโรค) ปีพ.ศ. 2550-2557 จำแนกรายจังหวัด [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 6 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/2016/mission3

3. ดวงดาว ปิงสุแสน. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555.

4. กิตติคุณ แสวงสุข. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2557.

5. ขนิษฐา แก้งล่องลอย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี; 2555.

6. สิริรัตน์ ปิยะภัทรกุล. พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2 ในเขต รับผิดชอบของสถานีอนามัยอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

7. วนิดา ส่างหญ้านาง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

8. สุวิทย์ชัย ทองกูล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2557.