โรคเรื้อนชนิดทิวเบอร์คิวลอยด์และโรคสะเก็ดเงิน : การศึกษาเปรียบเทียบด้านคลินิกและจุลพยาธิวิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาย้อนหลัง เพื่อเปรียบเทียบทางคลินิกและจุลพยาธิวิทยาของผู้ป่วยโรคเรื้อนชนิดทิวเบอร์คิวลอยด์และโรคสะเก็ดเงินอย่างละ 30 ราย โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใหม่ที่มารับบริการที่สถานบำบัดผิวหนังวัดมกุฎ กรมควบคุมโรค ในปี พ.ศ. 2557-2560 ผลการวิจัยพบความแตกต่างในด้านคลินิกที่ชัดเจน ในประวัติการเป็นโรคในครอบครัว การมารับการตรวจวินิจฉัยล่าช้า รอยโรคผิวหนังบริเวณที่พบบ่อย จำนวนและการกระจายของรอยโรค โดยลักษณะเฉพาะสำคัญทางคลินิกที่ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรค ได้แก่ การตรวจพบ รอยโรคแผ่นนูนแดงหนาขอบชัดที่มีผิวแห้งและมีอาการชา รวมทั้งตรวจพบเส้นประสาทส่วนปลายโตคลำได้ และความพิการของมือเท้าในผู้ป่วยโรคเรื้อนชนิดทิวเบอร์คิวลอยด์ ขณะที่พบรอยโรคแผ่นนูนแดงหนาที่มีสะเก็ดเงินคลุมอยู่ ผิวที่เป็นมันและมีเลือดออกเมื่อลอกสะเก็ดออกและไม่มีอาการชาในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ผู้วิจัยยังได้พบความแตกต่างที่ชัดเจนของลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของโรคเรื้อนทั้งในชั้น epidermis และ dermis ผู้วิจัยได้เสนอแนะการปรับปรุงการวิจัยครั้งต่อไป และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการฝึกอบรมด้านการวินิจฉัยแยกโรคแก่แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขในระบบบริการสุขภาพ ภายใต้สภาวะความชุกโรคเรื้อนต่ำหลังความสำเร็จของการกำจัดโรคเรื้อน เพื่อเพิ่มและรักษาคุณภาพและศักยภาพเพื่อสนับสนุนสู่เป้าหมายความสำเร็จของการกำจัดโรคเรื้อนอย่างยั่งยืนและปลอดโรคเรื้อนตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก ในปี 2563 ต่อไป
Article Details
References
2. World Health Organization. WHO expert committee on leprosy 8th report. Geneva: WHO; 2012.
3. Lever, Walter F, Gundula Schaumburg. Lever’s histopathology of the skin. 6th ed. Philadelphia: J.B. Lippincott; 1983.
4. Robert Hasting. Leprosy. Network: Churchill Lining stone; 1985.
5. ธีระ รามสูต. ประวัติศาสตร์โรคเรื้อนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มาสเตอร์คีย์; 2559.
6. World Health Organization. Enhanced global strategy for further reducing the disease burden due to leprosy (Plan period : 2011-2015). New Delhi: WHO; 2009.
7. World Health Organization. Global leprosy strategy 2016-2020: accelerating towards leprosy free world. New Delhi: WHO; 2016.
8. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. คู่มือการ วินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2553.
9. อภิชาติ ศิวยาธร. Psoriasis คลินิกโรคผิวหนังต้องรู้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2547.
10. Ramasoota T, Johnson WC, Graham JH. Cutaneous Sarcoidosis and tuberculoid leprosy: A comparative histopathology and histochemical study. Arch Derm 1967; 96: 259-72.
11. Mohamap AP. A Study of conjugal Leprosy. Int J Lepr 1965; 33: 223-8.
12. Belgueiman B. Leprosy and genetics. Bull World Health Organ 1969; 37: 461-76.
13. World Health Organization. The final push towards elimination of leprosy: strategic plan 2000-2005. Geneva: WHO; 2000.