การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ: กรณีศึกษา 2 ราย

Main Article Content

สุภาพ ลิ้มเจริญ

บทคัดย่อ

          ภาวะการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator Associated Pneumonia, VAP) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจจากข้อมูลการติดเชื้อใน โรงพยาบาลนครปฐมพบว่า VAP มีอัตราติดเชื้อสูงเป็นอันดับที่ 2 ของการติดเชื้อทั้งหมด และมีแนวโน้มสูงขึ้นใน ปี 2560 ซึ่งภาวะติดเชื้อ VAP มีผลกระทบต่อผู้ป่วยรุนแรงถึงทุพลภาพและเสียชีวิตได้ รวมทั้งมีการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากขึ้น ดังนั้นพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยจะต้องมีการวางแผนและวางแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการเกิด VAP
          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนกระบวนการพยาบาลในรายกรณีศึกษาที่มีภาวะการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ กรณีศึกษาผู้ป่วย 2 รายที่รับไว้ดูแลในหอผู้ป่วยสามัญแผนกอายุรกรรมจากภาวะวิกฤติของโรคเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบน และโรคเบาหวานที่มีภาวะกรดสูงจนผู้ป่วยมีภาวะช็อก ต้องได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจและเกิดการติดเชื้อ VAP ทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจนาน 43 และ 44 วันจึงสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจออกได้ โดยผู้ป่วยมีปัจจัยหลายอย่างที่เสี่ยงต่อการเกิด VAP ซึ่งการดูแลที่ผู้ป่วยได้รับ ได้แก่ การพยาบาลอย่างใกล้ชิด มีการประเมินอาการเปลี่ยนแปลง และการดูแลให้ได้รับการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างครบถ้วน รวมทั้งมีการดูแลตามมาตรการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของโรงพยาบาลจนผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นสามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลชุมชนได้

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. สุกัญญา โพยนอก, อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติที่ปรับปรุงจากหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2558; 26(2): 94-100.

2. วินิตย์ หลงละเลิง, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลช่องปากสำหรับผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจในภาวะวิกฤต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2559; 27(1): 96-113.

3. ขวัญหทัย พันธุ. การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2556.

4. อะเคื้อ อุณหเลขกะ. ระบาดวิทยาและแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. เชียงใหม่: มิ่งเมือง; 2556.

5. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลนครปฐม. รายงานการติดเชื้อในโรงพยาบาล ปี 2558-2560 (6เดือน). นครปฐม: โรงพยาบาลนครปฐม; 2560.

6. Centers for Disease Control and Prevention. 2016 NHSN Patient Safety Component Manual [internet]. Atlanta. Centers for Disease Control and Prevention; 2016 [cited 2017 Dec 10]. 305 p. Available from: https://www.cdc.gov/nhsn/pdfs/validation/2016/pcsmanual_2016.pdf

7. ดรุณี ชุณหะวัต, ปราณี กู้ไพเราะ, มุกดา หนุ่ยศรี. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการผันแปรของออกซิเจน.นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.

8. กำธร มาลาธรรม, สุสัณห์ อาศนะเสน.คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.

9. อะเคื้อ อุณหเลขกะ. แนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาและการติดเชื้อจากการสอดใส่อุปกรณ์การแพทย์. เชียงใหม่: มิ่งเมืองนวรัตน์; 2557.

10. วันดี โตสุขศรี และคณะ,บรรณาธิการ.การพยาบาลอายุรศาสตร์1. พิมพ์ครั้งที่4 (ปรับปรุงครั้งที่1). กรุงเทพฯ : เอ็นทีเพรส; 2559. หน้า 18-36.

11. งานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลนครปฐม.วิธีปฏิบัติงาน เรื่อง การป้องกันปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. นครปฐม: โรงพยาบาล นครปฐม; 2560.

12. Department of Pathology,The JOHNS HOPKINS. MICROBIOLOGY NEWSLETTER Vol. 24, No. 28 Tuesday, September 13, 2005 [internet]. Baltimore: Johns Hopkins University;1999 [cited 2017 Dec 10].Available from: https://www.hopkinsmedicine.org/microbiology/newsletter/index2005.html

13. วันดี โตสุขศรี และคณะ,บรรณาธิการ. การพยาบาลอายุรศาสตร์ 2. พิมพ์ครั้งที่3 (ปรับปรุงครั้งที่1). กรุงเทพฯ : เอ็นทีเพรส; 2559. หน้า 286-313.

14. สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, ชวนพิศ ทำนอง. การพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 7 (ปรับ ปรุงครั้งที่ 2). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2556.

15. วุฒิชัย ธนาพงศธร, ธวัชชัย ตุลวรรธนะ.ตำราศัลยศาสตร์พื้นฐานศัลยศาสตร์และอาการของโรคศัลยกรรมสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2558.

16. AhyaShubhada N, Flood Kellie, Paranjothi.The Washington Manual of Medical Therapeutics. 30th ed. Philadelphai: Wolters Kluwer; 2001.

17. อรพินท์ สีขาว. การจัดการโรคเบาหวาน : มิติของโรคและบทบาทพยาบาล. กรุงเทพฯ: เอ็มแอนด์เอ็ม เลเซอร์ พริ้นส์; 2558.