การจัดการความปวดหลังผ่าตัดในสถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

ณภัทร ไวปุรินทะ

บทคัดย่อ

          สถาบันบำราศนราดูรมีการจัดการความปวดที่เป็นรูปธรรม โดยมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการจัดการความปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัด แต่ยังขาดการประเมินผลการจัดการความปวดอย่างต่อเนื่อง การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลของการจัดการความปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัดในสถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร ระหว่างเดือน เมษายน-กันยายน 2560 และพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรม หอผู้ป่วยพิเศษศัลยกรรม และหอผู้ป่วยสูติกรรม โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงตามได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 75 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกกระบวนการจัดการความปวด และแบบบันทึกผลลัพธ์ของการจัดการความปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติบรรยาย
          ผลการศึกษาด้านกระบวนการ พบว่า พยาบาลมีการใช้เครื่องมือในประเมินความปวดและมีการบันทึก การประเมิน ความปวดใน 24 และ 48 ชั่วโมงหลังผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนใน 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 98.7 สำหรับความต่อเนื่องในการประเมินความปวด (อย่างน้อย 3 ครั้ง/วัน) ใน 24, 48 และ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด มีความต่อเนื่องของการประเมินความปวด คิดเป็นร้อยละ 62.7, 48.0 และ 42.7 ส่วนการประเมินซ้ำหลังการจัดการความปวดยังพบว่ามีการปฏิบัติน้อย คิดเป็นร้อยละ 29.3, 20.0 และ 22.7 ใน 24, 48 และ 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ตามลำดับ การบริหารยาเพื่อบรรเทาปวด วิธีบริหารยาแบบฉีดยาทางหลอดโลหิตดำตามเวลาเป็นวิธีที่ใช้มากที่สุด ส่วนการบรรเทาปวดแบบไม่ใช้ยา วิธีที่ใช้มากที่สุด คือ การจัดท่า รองลงมาเป็นประคบร้อน/เย็นด้านผลลัพธ์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนปวดที่มากที่สุด ใน 24 , 48 และ 72 ชั่วโมง หลังผ่าตัด มีคะแนนปวดมากที่สุดเฉลี่ย 4.32, 3.64 และ 3.21 ตามลำดับ คะแนนความปวดที่น้อยที่สุดเฉลี่ย 2.05, 1.87 และ1.66
          ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าพยาบาลควรให้ความสำคัญกับการจัดการความปวดอย่างต่อเนื่องและการประเมินซ้ำหลังการจัดการความปวด และพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดแบบไม่ใช้ยาเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปใช้ร่วมกับการใช้ยาบรรเทาปวด ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการบรรเทาปวดให้ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. อิศราภรณ์ กันวี, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, วารินทร์ บินโฮเซ็น. สถานการณ์การจัดการความปวดในห้องพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2555; 6(2): 87-97.

2. วิมลลักษณ์ สนั่นศิลป์. ความเป็นมาและงานของหน่วยระงับปวดเฉียบพลัน ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (ตอนที่1). เวชบันทึก ศิริราช 2559; 9(1): 30-3.

3. Allcock N. Factor affecting the assessment of post-operative pain: a literature review. J Adv Nurs 1996; 24: 1144-51.

4. สมรัตน์ จารุลักษณานันท์. ตำราวิสัญญีวิทยา: การให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย. สมุทรสาคร: วินเพรสโปรดักชั่นเฮาส์; 2548.

5. สมบูรณ์ เทียนทอง, มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, พนารัตน์ รัตนสุวรรณ ยิ้มแย้ม, วัฒนา ตันทนะเทวินทร์, ณรงค์ ขันตีแก้ว. การพัฒนาระบบการประเมินและบันทึกความปวดให้เป็นสัญญาณชีพที่ห้าในโรงพยาบาลระดับของมหาวิทยาลัย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550; 22(2): 158-64.

6. มนัสนันท์ ศิริสกุลเวโรจน์. ผลการใช้แนวทางเวชปฏิบัติ “การระงับปวดหลังผ่าตัด” ต่อการบรรเทาความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วไปสถาบันบำราศนราดูร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2552; 3(2): 22-31.

7. ศรัณยา ประสิทธิศิริกุล, มนัสนันท์ ศิริสกุลเวโรจน์, ณภัทร ไวปุรินทะ, บุญธิดา ลิมาพงษ์ภาส, จุฬาลักษณ์ โชติกมณิย์, กาญจนา โกกิละนันท์ และคณะ. NO PAIN HAVE GAIN I. มปท.; 2556.(อัดสำเนา)

8. Puntillo KA, Stannad D, Miaskowski C, Kehrie K, Gleeson S. Use of a pain assessment and intervention tool in critical care nursing practice: Nurses’ evaluation. Heart Lung 2002; 31(4): 303-14.

9. สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับชมรมวิสัญญีแห่งประเทศไทย. หน้าที่รับผิดชอบหลักและสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2549.