การเลือกจุดฝังเข็มในการรักษาภาวะปวดประจำเดือนปฐมภูมิ

Main Article Content

รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้จุดฝังเข็มในการรักษาภาวะปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ โดยใช้วิธีการสืบค้นในฐานข้อมูลออนไลน์ของสาธารณรัฐประชาชนจีนย้อนหลัง 10 ปี และใช้โปรแกรม Excel 2010 ในการรวบรวมข้อมูลและแปลผลทางสถิติ ผลจากการศึกษาพบว่า มีงานวิจัยทั้งหมด 205 เรื่องที่เข้าเกณฑ์การศึกษา จุดฝังเข็มที่ใช้บ่อยใน การรักษาภาวะปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ 3 อันดับแรกคือ ซานอินเจียว (Sanyinjiao, SP6, 三阴交) กวนหยวน (Guanyuan, RN4, 关元) และจู๋ซานหลี่ (Zusanli, ST6, 足三里) ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 จุด จัดอยู่ในเส้นลมปราณที่ใช้บ่อย 3 อันดับด้วยเช่นเดียวกัน ได้แก่ เส้นลมปราณเท้าไท่อินม้าม เส้นลมปราณเริ่น และเส้นลมปราณเท้าหยางหมิง กระเพาะอาหาร บริเวณขาเป็นตำแหน่งที่ถูกเลือกใช้จุดเข็มมากที่สุด และจุดพิเศษที่ถูกใช้มากสุดคือ crossing point

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Lacovides S, Avidon I, Baker FC. What we know about primary dysmenorrhea today: a critical review. Hum Reprod Update. 2015;21(6):762-78.

Angsuwathana S. Dysmenorrhea. In: Somboon K, Mongkon B, Manee R, Suwanit T (editors). Gynecology. Bangkok: PA Living; 2008. p. 47-55. (in Thai)

China Association of Chinese Medicine. Guidelines for diagnosis and treatment of common diseases of gynecology in traditional Chinese medicine. 1st ed. Beijing: China Press of Traditional Chinese Medicine; 2012. (in Chinese)

Shuzhong G. Acupuncture and moxibustion therapy. 3rd ed. Beijing: China Press of Traditional Chinese Medicine; 2012. (in Chinese)

Shen X. Meridians and acupoints. 15th ed. Beijing: China Press of Traditional Chinese Medicine; 2007. (in Chinese)

Sun Guang Ren. Basic theory of traditional Chinese medicine. 19th ed. Beijing: China Press of Traditional Chinese Medicine; 2007. (in Chinese)

Shen X. Meridians and acupoints. 15th ed. Beijing: China Press of Traditional Chinese Medicine; 2007. (in Chinese)