สมุนไพรจีน: ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าของชาวโลก

Main Article Content

เย็นจิตร เตชะดำรงสิน

บทคัดย่อ

การแพทย์แผนจีนเป็นศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมของชาวจีน และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันลํ้าค่าของสาธารณรัฐประชาชนจีน สมุนไพรจีนถูกนำมาใช้นานหลายพันปีตราบจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากมีการศึกษาทั้งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (geographicalindication: GI) ของแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ (เต้าตี้เย่าไฉ) และเทคนิคพิเศษในการแปรรูปยา (เผาจื้อ) ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเด่นของสมุนไพรจีน การแบ่งกลุ่มของเต้าตี้เย่าไฉมีหลายแบบ แต่หากแบ่งตามเขตเกษตรกรรมในสาธารณรัฐประชาชนจีน สามารถแบ่งออกเป็น 10 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มชวนเย่า กลุ่มกว่างเย่า กลุ่มหยุนเย่า กลุ่มกุ้ยเย่า กลุ่มไหฺวเย่า กลุ่มเจ้อะเย่า กลุ่มกวนเย่า กลุ่มเป่ยเย่า กลุ่มซีเย่า และกลุ่มเจียงหนันเย่า นอกจากนี้สมุนไพรจีนยังมีการแบ่งตามแหล่งผลิตว่าเป็นแหล่งผลิตจากป่าธรรมชาติ หรือจากการเพาะปลูก สิ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวกับสมุนไพรจีนอีก 2 ประการ คือ การเก็บเกี่ยว (รวมถึงการเก็บเกี่ยวที่ถูกชนิด ส่วนที่ใช้ อายุของพืช ช่วงเวลาของวัน และฤดูกาลที่เหมาะสม) และการแปรรูป (เผาจื้อ) ซึ่งมีหลายขั้นตอนตั้งแต่ กระบวนการแปรรูปเบื้องต้นที่แหล่งปลูก จนถึงการแปรรูปด้วยเทคนิคพิเศษ ทั้งนี้เพื่อให้ได้สมุนไพรที่มีคุณภาพดี ลดผลข้างเคียงของตัวยา ปรับเปลี่ยนหรือช่วยให้สรรพคุณและฤทธิ์ของตัวยาสุขุมขึ้น ทำให้ตัวยาไปออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งที่ต้องการหรือเพิ่มฤทธิ์ของตัวยาที่ตำแหน่งนั้น ปรับเปลี่ยนทิศทางการออกฤทธิ์ของตัวยา และเพิ่มประสิทธิผลการรักษาของตัวยา นอกจากนี้การแปรรูปที่เหมาะสมยังทำให้ตัวยาสะอาด เก็บรักษาได้ง่าย ปรุงและเตรียมยาได้สะดวก และรับประทานได้สะดวก ซึ่งสมุนไพรที่มีคุณภาพดีเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนมานานตราบจนถึงปัจจุบัน

Article Details

บท
บทปริทัศน์

References

Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Professional Standard for the Art of Healing in Traditional Chinese Medicine. 1st ed. Bangkok: War Veterans Organization of Thailand; 2015. (in Thai)

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health. Traditional Chinese Medicine Dictionary (Chinese–Thai -English) Volume 1. 1st ed. Bangkok: Agricultural Credit Cooperatives of Thailand; 2011.

Techadamrongsin Y. Chinese Herbal Medicine Science. 1st ed. Bangkok: Agricultural Credit Cooperatives of Thailand; 2011. (in Thai)

Techadamrongsin Y, Chokevivat V, Sotanaphun U, Soonthornchareonnon N, Tangaramvong J, Korsangruang S, et al. Commonly used Chinese Prescriptions in Thailand, Volume 3. 1st ed. Bangkok: Agricultural Credit Cooperatives of Thailand; 2010. (in Thai)

Hu TY. Yiyao Shangpin Xue. 2nd ed. Beijing: China Medical Science and Technology Press; 2009. (in Chinese)

Techadamrongsin Y. Integrated Herbal Development. 1st ed. Bangkok: War Veterans Organization of Thailand; 2007. (in Thai)

Jiangsu New Medical College. Dictionary of Traditional Chinese Medicine. Volume 1. 1st ed. Shanghai: Publishing House of Shanghai College of Traditional Chinese Medicine; 1979. (in Chinese)

Chokevivat V, Techadamrongsin Y, Sotanaphun U, Tangaramvong J, Korsangruang S, Vejpongsa A, et al. Commonly used Chinese Prescriptions in Thailand, Volume 2. 1st ed. Bangkok: War Veterans Organization of Thailand; 2008. (in Thai)