การประเมินคุณภาพบริการและความต้องการข้อมูลสุขภาพของผู้รับบริการในคลินิกตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ผู้แต่ง

  • อลิสา ช่วงอรุณ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  • พัชรี เจริญพร กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  • นิรมล พจน์ด้วง กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  • เปรมฤดี บุญภัทรานนท์ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการ, ความต้องการข้อมูลสุขภาพ, คลินิกตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินคุณภาพบริการและศึกษาความต้องการข้อมูลสุขภาพของผู้รับบริการในคลินิกตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการตรวจสุขภาพในคลินิกตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จำนวน 420 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความต้องการข้อมูลสุขภาพด้านการป้องกันและคัดกรองความเสี่ยงจากโรคมะเร็งและแบบประเมินคุณภาพบริการของโรงพยาบาลตามแบบจำลอง SERVQUAL ของพาราซุรามาน ซีแทมและเบอร์รี่ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบประเมิน ได้ค่าสัมประสิทธ์อัลฟ่าของครอนบราคเท่ากับ 0.94 และ 0.85 ตามลำดับ ผลการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการข้อมูลสุขภาพพบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการข้อมูลด้านการป้องกันและคัดกรองความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=2.70, SD=0.44) ข้อมูลที่ต้องการมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ อาการผิดปกติหรือสัญญาณอันตรายเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (ค่าเฉลี่ย=2.77, SD=0.52) อาหารกับการป้องกันมะเร็ง (ค่าเฉลี่ย=2.76, SD=0.53 ) ชนิดของโรคมะเร็งที่สามารถป้องกันได้(ค่าเฉลี่ย= 2.74, SD=0.55) การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งสำหรับตนเอง (ค่าเฉลี่ย=2.73, SD=0.57) และชนิดของโรคมะเร็งที่สามารถตรวจค้นหาในระยะเริ่มแรกได้ (ค่าเฉลี่ย=2.72, SD=0.59) ด้านการประเมินคุณภาพบริการพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนบริการที่ได้รับสูงกว่าบริการที่คาดหวังโดยรวม (P=0.000) และรายด้าน 4 ด้าน คือ ความเป็นรูปธรรมของบริการ (P=0.004) ความน่าเชื่อถือ (P=0.000) การตอบสนอง(P=0.004) และการเอาใจใส่ผู้รับบริการ (P=0.000) ส่วนด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการพบว่าไม่แตกต่างกัน (P=0.110) ดังนั้นคลินิกตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งควรมีการประเมินคุณภาพบริการและความต้องการข้อมูลของผู้รับบริการอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สถานพยาบาลทราบถึงช่องว่างของการบริการและนำไปสู่การจัดบริการที่เหมาะสม เพื่อคุณภาพบริการที่ดี

References

Zeithaml VA, Parasuraman A, Berry LL. Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions. New York: The Free Press; 1990.

วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. คุณภาพในงานบริการ. (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). กรุงเทพฯ: ประชาชนจำกัด; 2542.

สมวงศ์ พงศ์สถาพร. Hitech Marketing. กรุงเทพฯ: ยูบีซีแอลบุ๊กส์; 2550.

Parasuraman A, Zeithaml VA, Berry LL. SERVQUAL: A Multi-Item Scale for Measuring Consumer Perception of Service Quality. J Retailing 1988;64:12-40.

กนกพร ลีลาเทพินทร์, พัชญา มาลือศรี, ปรารถนา ปุณณกิติเกษม. การประเมินระดับคุณภาพการ บริการของโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ด้วยแบบจำลอง SERVQUAL. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 2554;30:443-56.

จิตติมา ธีรพันธ์ุเสถียร. การศึกษาคุณภาพบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) สาขาพร้อมมิตร. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ. มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2549.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row Wisher; 1973.

พัชนี สมกำลัง, ไปรมา ขุนโมกข์, ผกาวรรณ เสนคะ, กรทิพย์ เชื้อตาหมื่น, กฤติยา นวลฝ้าย. ความต้องการข้อมูลของผู้รับบริการในโรงพยาบาลนครพนม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2554;21:85-93.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

จารุนันท์ พิชัยรัตน์. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการพิทักษ์สิทธิผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์การพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2544.

ศักดิ์กยะ บุญรอด. ความคาดหวังของผู้ป่วยที่มีต่อคุณภาพบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิในอำเภอระโนด จงหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร; 2550.

Maryam Changizi, Mohammad Hossein Kaveh. Educational intervention and cancer prevention: A systematic review. J Cell Immunother 2017;3:17-9.

พรชัย ดีไพศาลสกุล. ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาล. Veridian EJournal Silpakorn University 2556;6:573-92.

พัชรี เจริญพร. รายงานผลการตรวจคัดกรองมะเร็ง คลินิกตรวจสุขภาพตรวจสุขภาพค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง. สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี กลุ่มการพยาบาลผู้ป่วยนอก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-28