การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word เท่านั้น
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
  • รูปภาพในบทความไม่ติดลิขสิทธิ์ (หากติดลิขสิทธิ์ ผู้แต่งต้องรับผิดชอบ ทางวารสารจะไม่รับผิดชอบทุกกรณี)
  • เขียนรูปแบบการอ้างอิงตรงตามรูปแบบ Vancouver และเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ไม่เกิน 25 อ้างอิง
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต

คำแนะนำผู้แต่ง

คำชี้แจงการส่งเรื่องเพื่อลงตีพิมพ์

วารสารโรคมะเร็งยินดีรับบทความทางวิชาการ ประเภทบทความวิจัย, บทฟื้นวิชาการ, รายงานผู้ป่วย หรือเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเพื่อพิจารณา ตีพิมพ์ในวารสาร โดยบทความที่ตีพิมพ์จะได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ เรื่องที่ส่งมาพิมพ์ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน และเมื่อตีพิมพ์แล้ว ต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารอื่น สําหรับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารโรคมะเร็ง และเป็นผลงานวิชาการหรือผลงานวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการ หรือผู้จัดทํา ขอให้ผู้นิพนธ์ส่งต้นฉบับทีจัดเตรียมถูกต้องตามคําแนะนําในเอกสารนี้มายังบรรณาธิการวารสารโรคมะเร็ง ทางวารสารระบบออนไลน์ (ThaiJo) 

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)  
เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ซึ่งต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ สังกัด/สถานที่ทำงาน บทคัดย่อและคำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์และสรุปผล กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง ความยาวเนื้อเรื่องไม่ควรเกิน 16 หน้าพิมพ์

บทความฟื้นฟูวิชาการ (Review article)
เป็นการรวบรวมวิเคราะห์สังเคราะห์ผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้ผู้อ่านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าใหม่ๆ ของเรื่องนั้นในสถานการณ์ปัจจุบัน มีองค์ประกอบดังนี้ บทคัดย่อ คำสำคัญ บทนำ สรุปผลและเอกสารอ้างอิง

รายงานผู้ป่วย (Case Report)
เป็นรายงานผลการศึกษาจากผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดา เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคที่พบได้ไม่บ่อยหรือไม่เคยมีอาการมาก่อน หรือโรคที่มีลักษณะหรือการดำเนินโรคที่ไม่ตรงแบบ มีบทสรุปและเสนอข้อคิดเห็นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ ควรประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ บทนำ รายงานผู้ป่วย วิจารณ์ สรุป กิตติกรรมประกาศ และ เอกสารอ้างอิง

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ