Occupational Health Risk Matrix Assessment and Effect of Stretching on Lower Muscles Pain among Handmade Weaving Occupation, Selaphum District, Roi-Et Province.
Main Article Content
Abstract
การศึกษานี้เพื่อประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยโดยเมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพและศึกษาผลของโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อต่อระดับการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อส่วนล่างในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทอผ้าด้วยมือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ศึกษาข้อมูลทั่วไปและปัจจัยเสี่ยงในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 67 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลและการทำงาน แบบประเมินระดับอาการและความถี่ของการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การประเมินความเสี่ยงทางอาชีว อนามัยโดยเมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ และศึกษาผลโปรแกรมการยืดเหยียดในกลุ่มทดลองจำนวน 37 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA-10 ผลการศึกษา พบอาการปวดกล้ามเนื้อในระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้ส่วนใหญ่อยู่ตำแหน่งบริเวณสะโพก จำนวน 41 ราย (ร้อยละ 61.19) อายุและค่าดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับระดับอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 ผลโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทำให้ระดับและความถี่ของอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ลดลงอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ โดยค่าเฉลี่ยคะแนนระดับความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยโดยเมตริกความเสี่ยงต่อสุขภาพ บริเวณสะโพกลดลงจาก 6.81 (±4.95) เป็น 3.08 (±2.61) บริเวณน่องและข่า ลดลงจาก 6.97 (±5.20) เป็น 2.84 (±2.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 ดังนั้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนล่างจากการทำงานได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ. กระทรวงสาธารณสุข. https://hdcservice.moph.go.th/
กิตติทัต สุดชู, ไชยนันต์ แท่งทอง, วราภรณ์ คำยอด, และ สรา อาภรณ์. (2563). ระดับการปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และปัจจัยจากการทำงานในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างเพศชาย ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 13(2), 158-75.
ณัฐพงษ์ ฤทธิ์น้ำคำ และกาญจนา นาถะพินธุ. (2550). ปัญหาสุขภาพจากการทำงานและการดูแลสุขภาพจากลุ่มอาชีพทอผ้าไหม อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับบัณฑิต ศึกษา, 7(3), 83-97.
ณัฐพล ทนุดี, น้ำเงิน จันทรมณี, และ บุญลือ ฉิมบ้านไร่. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ ต่อการแก้ไขอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการงานของกลุ่มสตรีปักผ้าชาวไทยภูเขา อำเภอปง จังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 19(2), 137-140.
นันทพร เมฆสวัสดิชัย, ตรีอมร วิสุทธิศิริ, และ ณัฐวุฒิ แดงสวัสดิ์. (2554). การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายในการทำงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารควบคุมโรค, 37(3), 151-59.
น้ำเงิน จันทรมณี, สสิธร เทพตระการพร, และ ผกามาศ พิริยะประสาทน์. (2557). ปัญหาจากการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มอาชีพทอผ้าด้วยมือในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 7(24), 29-40.
พัชรินทร์ ใจจุ้ม. 2558. ประสิทธิผลของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์เพื่อลดอาการปวดเมื่อยหลังและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังของคนงานทอผ้าด้วยมือ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัชรินทร์ ใจจุ้ม และทัศน์พงษ์ ตันตัญจพร. (2561). ประสิทธิผลของการจัดโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์เพื่อลดการปวดเมื่อยหลังและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังของคนงานทอผ้ามือ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 29-39.
ศุภวิช นิยมพันธุ์. (2557). การออกแบบและปรับปรุงทำงานตามหลักการยศาสตร์ กรณีศึกษาการทอผ้าไหมยกทองหมู่บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2558). ผลกระทบของโรคระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพ. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. http://envocc.ddc.moph.go.th/index
Banerjee P., & Gangopadhyay S. (2003). A study on the prevalence of upper extremity repetitive strain injuries among the handloom weavers of West Bengal. J Hum Ergol (Tokyo), 32(1), 17-22.
Dianat I., & Karimi M.A. (2016). Musculoskeletal symptoms among handicraft workers engaged in hand sewing tasks. Journal of Occupational Health, 58(6): 644-52.
Dianat I. & Salimi A. (2014). Working conditions of Iranian hand-sewn shoe workers and associations with musculoskeletal symptoms. Ergonomics, 57(4), 602-11.
Nazari J., Mahmoudi N., Dianat I., & Graveling R. (2012). Working Conditions in Carpet Weaving Workshops and Musculoskeletal Complaints among Workers in Tabriz - Iran. Health Promotion Perspectives, 2(2), 265-73.