ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ยศสรัล มาลี
ปภัสวรรณ ปันตันบุตร
พรวดี ตา
ลลิตา เจนจบ
สุรัช เตจะสาร
ฐานิตา บุญก่อสร้าง
วิลาสินี แก้วบุญเรือง
มณุเชษฐ์ มะโนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง   กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปี จำนวน 120 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือเก็บตัวอย่างคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 92.50 มีทัศนคติอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 85.83 และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมอยู่ในระดับต้องแก้ไข ร้อยละ 90.80 ส่วนด้านปัจจัยพบว่า การได้รับการศึกษา ดัชนีมวลกาย โรคประจำตัว ความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คะแนนความรู้และคะแนนทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)


ดังนั้นหน่วยงานด้านสุขภาพควรมีการจัดทำโครงการที่มุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมและการสร้างทัศนคติเชิงบวกผ่านการอบรมหรือมีสื่อประชาสัมพันธ์ที่เข้าใจง่าย รวมถึงการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะการควบคุมน้ำหนักตัวและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์ฐพิมพ์ บำรุงวงศ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานนวดแผนไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชนาภา อุดมเวช และรัตน์ศิริ ทาโต. (2562). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิง นวดแผนไทย. วารสารเกื้อการุณย์, 26(1), 7-23.

ดวงเดือน ศรีมาดี, หนูทัศน์ ผาวิรัตน์, ลําพงษ์ ศรีวงศ์ชัย และกษวรรณ เทียมวงศ์. (2557). สภาพปัญหาและพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของประชาชนในเขตบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 11(2), 37-42.

เทศบาลตำบลแม่กา. (2566, 20 มกราคม). ข้อมูลแสดงจำนวนประชากรตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. http://www.maekalocal.go.th/.

ธานี แก้วธรรมานุกูล, วีระพร ศุทธากรณ์ และกัลยาณี ตันตรานนท์. (2563). การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าว: ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการทำงาน. พยาบาลสาร, 47(4), 100-113.

นิลุบล ไชยโกมล. (2563). ผลของโปรแกรมบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(3), 384-396.

นาตยา ดวงประทุม, เฟื่องฟ้า รัตนาคณหุตานนท์, ชัยวัช มะลิไทย และศุภาพิชญ์ ชาวปลายนา. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. สักทอง : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 9(1), 13-25.

บุษรา วาจาจำเริญ, ณัฏฐิญา ค้าผล และสุรสิทธิ์ ล้อจิตรอำนวย. (2559). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารเภสัชกรรมไทย, 8(2), 230-236.

พิพัฒน์ เพิ่มพูล. (2553). ความรุนแรงของโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลศิริราช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC). (2566, 11 มกราคม). อัตราป่วยโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน จังหวัดพะเยา ปี พ.ศ. 2565. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/ page.php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68

วราภรณ์ ไชยชะนะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรสวนส้มเขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สิริยากรณ์ กันหมุด. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในการทำงานของเกษตรกรสวนส้ม เขียวหวาน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานสถิติจังหวัดพะเยา. (2566, 22 มกราคม). รายงานสถิติจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2566. https://phayao.nso.go.th/reports-publications/ebook.html?view=book&id=17:2566& catid=4:provincial-statistical-report

Best, J. W. (1997). Research in education. Prentice-Hall.

Bitton, R. (2009). The economic burden of osteoarthritis. The American Journal of Managed Care, 18(8 Suppl), S230-235.

Blagojevic, M., Jinks, C., Jeffery, A., & Jordan, K. P. (2010). Risk factors for onset of osteoarthritis of the Knee in older adults: A systematic review and meta-analysis. Osteoarthritis and Cartilage, 18(1), 24-33. https://doi.org/10.1016/j.joca.2009.08.010

Bloom, B. S., Madaus, G. F., & Hastings, J. T. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw-Hill.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. Harper & Row.

Cross, M., Smith, E., Hoy, D., Nolte, S., Ackerman, I., Fransen, M., Bridgett, L., Williams, S., Guillemin, F., Hill, C. L., Laslett, L. L., Jones, G., Cicuttini, F., Osborne, R., Vos, T., Buchbinder, R., Woolf, A., & March, L. (2014). The global burden of hip and knee osteoarthritis: estimates from the global burden of disease 2010 study. Annals of the Rheumatic Diseases, 73(7), 1323–30. https://doi.org/10.1136/annrheumdis-2013-204763

GBD 2019 Diseases and Injuries Collaborators. (2020). Global burden of 369 diseases and injuries in 204 countries and territories, 1990–2019: A systematic analysis for the global burden of disease study 2019. Global Health Metrics, 396(10258), 1204–22.

Iversen, M. D. (2012). Rehabilitation intervention for pain and disability in osteoarthritis: A review of intervention including exercise, manual technique and assistive device. Orthopedic Nursing, 31(2), 103-108. https://doi.org/10.1097/NOR.0b013e31824fce07

Kim, T. R., Ross, J. A., & Smith, D. P. (1969). KOREA: Trends in four national KAP surveys, 1964-67. Studies in Family Planning, 1(43), 6-11. https://doi.org/10.2307/1965090

Knoop, J., Dekker, J., Klein, J. P., Van der Leeden, M., Van der Esch, M., Reiding, D., Voorneman, R. E., Gerritsen, M., Roorda, L. D., PM Steultjens, M., & Lems, W. F. (2012). Biomechanical factors and physical examination findings in osteoarthritis of the knee: Associations with tissue abnormalities assessed by conventional radiography and high-resolution 3.0 Tesla magnetic resonance imaging. Arthritis Research & Therapy, 14(5), R212. https://doi.org/10.1186/ar4050

Kolasinski, S. L., Neogi, T., Hochberg, M. C., Oatis, C., Guyatt, G., Block, J., Callahan, L., Copenhaver, C., Dodge, C., Felson, D., Gellar, K., Harvey, W. F., Hawker, G., Herzig, E., Kwoh, C. K., Nelson, A. E., Samuels, J., Scanzello, C., White, D., & Wise, B. (2020). 2019 American college of rheumatology/arthritis foundation guideline for the management of osteoarthritis of the hand, hip, and knee. Arthritis & Rheumatology, 72(2), 220–33. https://doi.org/10.1002/art.41142

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160.

Long, H., Liu, Q., Yin, H., Wang, K., Diao, N., Zhang, Y., Lin, J., & Guo, A. (2022). Prevalence trends of site-specific osteoarthritis from 1990 to 2019: Findings from the global burden of disease study 2019. Arthritis & Rheumatology, 74(7), 1172–83. https://doi.org/10.1002/art.42089

Marks, R. (2007). Obesity profiles with knee osteoarthritis: Correlation with pain, disability, disease progression. Obesity, 15(7), 1867-1874. https://doi.org/10.1038/oby.2007.221

Turkiewicz, A., Petersson, I. F., Bjork, J., Hawker, G., Dahlberg, L. E., Lohmander, L. S., & Englund, M. (2014). Current and future impact of osteoarthritis on health care: A population-based study with projections to year 2032. Osteoarthritis and Cartilage, 22(11), 1826–32. https://doi.org/10.1016/j.joca.2014.07.015