ผลการประยุกต์ใช้แผนผังแสดงระดับเสียงในกระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปแห่งหนึ่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

รัชกร ฮ่งกุล
เอกพจน์ กรดสุวรรณ
นรมน ข่ายม่าน
พรชิตา จรพงศ์
พีรณัฐ เพชรพิรุณ
ณัฐพงค์ ม้าเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับเสียง จัดทำแผนผังแสดงระดับเสียง และกำหนดมาตรการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในกระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูป ทำการตรวจวัดระดับเสียงทั้งหมด 6 แผนก จำนวน 771 จุด ด้วยเครื่องตรวจวัดระดับเสียง รุ่น SVAN 977A (Class 1) IEC 61672 นำผลตรวจวัดระดับเสียงมาจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียงโดยใช้โปรแกรม SURFER Software Version 19


ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูป มีระดับเสียงเฉลี่ยอยู่ในช่วง 74.22 - 92.07 เดซิเบล (เอ) เมื่อจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียงในกระบวนการผลิตไม้ยางพาราแปรรูป จุดที่มีผลการตรวจวัดเกิน 85 เดซิเบล (เอ) คือ แผนกเลื่อยไม้ จำนวน 111 จุด คิดเป็นร้อยละ 95.68 ซึ่งมีระดับเสียงเฉลี่ยเท่ากับ 92.07 เดซิเบล (เอ) ดังนั้น สถานประกอบการควรจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้พนักงานในแผนกเลื่อยไม้ เช่น Ear muff สามารถลดการสัมผัสเสียงดังได้ เมื่อคำนวณค่า NRR ที่ปรับลดได้ 18.75 เดซิเบล (เอ) ระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในสเกลเอของพนักงานเมื่อใส่ Ear muff มีค่า 77.25 เดซิเบล (เอ) ซึ่งเป็นระดับเสียงที่ปลอดภัย นอกจากนี้ควรจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในโรงงาน และควรจัดให้มีการตรวจสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานเพื่อเฝ้าระวังการเสื่อมสมรรถภาพการได้ยินจากการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ มหาวัน, วิโรจน์ จันทร และพัชร์สิริ ศรีเวียง. (2562). การประเมินระดับเสียงและสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานโรงงานไม้แปรรูป: กรณีศึกษาตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 19(Supplement), 64-76.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2566, 29 พฤศจิกายน). สรุปสถิติจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ประจำปี 2563, https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac.

กรมควบคุมโรค, กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2566, 29 พฤศจิกายน). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมโรค, https://ddc.moph.go.th/doed/pagecontent.php?page.

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559. (2559, 17 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 91 ก. หน้า 48-54.

ณัฐพล พิมพ์พรมมา. (2564). การตรวจวัดและการจัดทาแผนที่เสียงในกระบวนการผลิตกระสอบพลาสติกของโรงงานแห่งหนึ่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม, 8(2), 36-44.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การคำนวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล. (2561, 14 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 33 ง. หน้า 9-10.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน. (2561, 26 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 19 ง. หน้า 15.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ. (2561, 12 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 67 ง. หน้า 11-16.

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ. (2561, 12 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 134 ง. หน้า 15-16.

ปัญจ์ปพัชรภร บุญพร้อม, สิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์, ญานิศา พึ่งเกตุ และอุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์. (2565). การจัดทำแผนผังแสดงระดับเสียงในกระบวนการซักฟอกย้อมเครื่องนุงห่มเพื่อกำหนดมาตรการอนุรักษ์การได้ยินของโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 17(2), 1-11.

ปุณญิสา ผุดผ่อง. (2566). กลยุทธ์การวางแผนการตรวจวัด ระดับเสียงการจัดกลุ่ม SEGs และการทำ Noise Contour Map. ใน เอกสารการสอน. สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

ลักษณีย์ บุญขาว และดุษฎี ถาวรพงษ์. (2562). การศึกษาระดับเสียงและแผนที่แสดงระดับเสียงเทียบเท่าบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(1), 60-67.

สมพิศ พันธุเจริญศรี. (2545). ถาม-ตอบ ปัญหาเสียงดัง และหูตึงจากการทำงาน. เรียงสาม กราฟค ดีไซน์.

อุไรวรรณ หมัดอ่าดัม, สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง, ทัศณุ เรืองสุวรรณ์, จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย และนุจรีย์ แซ่จิว. (2561). การสูญเสียการได้ยินของพนักงานชาวเมียนมาที่สัมผัสเสียงดัง ในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(4), 23-33.