ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้าง โรงแยกก๊าซธรรมชาติในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จากประชากรจำนวน 235 คน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงได้ 163 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ (Chi-square) (P-value <0.05) ผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รายได้เฉลี่ยมากกว่า 15,000 บาทต่อเดือน อายุงานมากกว่า 1 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีประวัติการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และพบว่า ร้อยละ 84.7 มีพฤติกรรมด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก (= 83.69, S.D. = 11.36) ร้อยละ 98.2 มีความรู้ด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก ( = 18.34, S.D. = 12.34) และร้อยละ 72.4 มีทัศนคติด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก ( = 77.1, S.D. = 63.79) และพบว่า เพศ (P-value = 0.004) การสูบบุหรี่ (P-value = 0.044) ประวัติการเกิดอุบัติจากการทำงาน (P-value = 0.001) และทัศนคติความปลอดภัย (P-value = 0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นโรงแยกก๊าซธรรมชาติแห่งนี้สามารถนำสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากพฤติกรรมที่ต่ำกว่ามาตรฐานของพนักงาน ได้แก่ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ การปฏิบัติงานด้วยภาวะร่างกายที่ไม่พร้อม การทำงานบนนั่งร้านที่ไม่มีความมั่นคง แข็งแรง และไม่ได้รับการตรวจสอบ และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ได้แก่ การทำงานที่แคบ หลุม บ่อ ถัง ไปเป็นแนวทางการพัฒนา ปรับปรุง และแก้ไขระบบบริหารงาน ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรม ความปลอดภัย และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานแก่พนักงานที่ทำงานต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กรวิภา หาระสาร และจิตรพรรณ ภูษาภักดี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 5(1), 84-102.
จารุภักษ์ มะอิสูงเนิน และอาชิตะ ทั่วประโคน. (2562). การศึกษาพฤติกรรม ความรู้ และทัศนคติในการทำงานด้านความปลอดภัยของคนงานก่อสร้าง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ซารีฮะ หะยีหะซา และรางค์คณา อีแต. (2563). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้าง กรณีศึกษาการก่อสร้างรันเวย์ ท่าอากาศยานตรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง.
ดาริน วัฒนสิธรร และอัควรรณ์ แสงวิภาค. (2564). ผลกระทบของความรู้ด้านความปลอดภัยและบรรยากาศด้านความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัย ของบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 16(1), 53-67.
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). (ม.ป.ป.). โครงการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 7. https://procurement.pttplc.com/th/page/index/2092.
ปัญญา ภูวิชิต และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารความปลอดภัยขององค์กรและพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(99), 79-92.
นวพร สุขศรี. (2560). การรับรู้การจัดการความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทผลิตยางรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริรัตน์ พรมน้อย และยุวดี ทองมี. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 4(1), 43-48.
ศิริพร ด่านคชาธาร, จันจิรา มหาบุญ, มุจลินท์ อินทรเหมือน, มัตติกา ยงประเดิม และวิทยา ปานประยูร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้างโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 3(2), 34-40.
กระทรวงแรงงาน, สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (ม.ป.ป.). สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน ปี 2561-2565. https://www.sso.go.th/wpr/assets/ upload/files_storage/sso_th/102220b2a37b7d0ea4eab82e6fab4741.pdf.
ธนาคารไทยพาณิชย์. (2566, 12 พฤษภาคม). มูลค่าอุตสาหกรรมก่อสร้างปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัว จับตาความท้าทายต้นทุนสูง ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง และแรงกดดันจากเทรนด์ ESG. ThaiPR.NET, https://www.thaipr.net/finance/3336075.
สำนักงานแรงงาน จังหวัดระยอง. (2566, 10 พฤษภาคม). รายงานสถานการณ์และดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดระยอง ไตรมาส 1 ปี 2566 (มกราคม-มีนาคม 2566). https://rayong.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/47/2023/05/สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดระยอง-ไตรมาส-1-ปี-2566.pdf.
อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. (2553). อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). โอเดียนสโตร์.
Basahel, A. M. (2021). Safety Leadership, Safety Attitudes, Safety Knowledge and Motivation toward Safety-Related Behaviors in Electrical Substation Construction Projects. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(8), 4196. https://doi.org/10.3390/ijerph18084196
Heinrich, H. W. (1931). Industrial Accident Prevention. McGraw-Hill.
Kao, K. Y., Spitzmueller, C., Cigularov, K., & Thomas, C. L. (2019). Linking safety knowledge to safety behaviours: a moderated mediation of supervisor and worker safety attitudes. European Journal of Work and Organizational Psychology, 28(2), 206-220. https://doi.org/10.1080/1359432X.2019.1567492
Mohajeri, M., Ardeshir, A., Malekitabar, H., & Rowlinson, S. (2021). Structural Model of Internal Factors Influencing the Safety Behavior of Construction Workers. Journal of Construction Engineering and Management, 147(11), https://doi.org/10.1061/(ASCE)CO.1943-7862.0002182
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.