การประเมินความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดแมลงของเกษตรกรในตำบลบางเลนอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การใช้สารเคมีกำจัดแมลงมากเกินไปบ่อยครั้งนำไปสู่ปัญหาทางด้านสุขภาพ การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดแมลงถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงของเกษตรกรตำบลบางเลนอำเภอบางเลนจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรจำนวน 94 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดแมลงอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 81.91) โดยมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดแมลงได้มากที่สุด คือ มีความรู้ในเรื่องการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลง ซึ่งขณะที่ทำการฉีดพ่นสารเคมีไม่ควรสูบบุหรี่และกินอาหาร และหลังการฉีดพ่นสารเคมีทุกครั้งควรรีบอาบน้ำทันที ส่วนพฤติกรรมขณะใช้สารเคมีกำจัดแมลงเกษตรกรมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวดีมากที่สุดโดยเฉพาะพฤติกรรมขณะใช้สารเคมีกำจัดแมลงต้องเดินฉีดพ่นยา โดยคำนึงถึงทิศทางของลม (ร้อยละ 71.3) จากการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลต่อความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดแมลง พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอายุและการได้รับการอบรมของเกษตรกรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดแมลง ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การมีพฤติกรรมในการป้องกันตนเองดีย่อมปลอดภัยต่อสารเคมีกำจัดแมลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563, 6 กุมภาพันธ์). ข้อมูลสารสนเทศเกษตรกร. https://www.doae.go.th/home/.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2557, 5 มิถุนายน). รายงานสถานการณ์โรค. กรมควบคุมโรค, http://ddc.moph.go.th/doed/pagecontent.php?page=888&dept=doed.
ดลนภา ไชยสมบัติ, จรรยา แก้วใจบุญ และอัมพร ยานะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร กรณีศึกษาเกษตรกรในตำบลสันป่าม่วงอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(ฉบับพิเศษ), S305-S316.
นิรัชรา จ้อยชู, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และวิชชุดา เจริญกิจการ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทาง การพยาบาล, 20(2), 236-247.
ณัฐธญา วิไลวรรณ. (17 มิถุนายน, 2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรอำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี [Paper]. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน, วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/ Journal/2559Vol4No1_51.pdf
ปรารถนา ทัดเทียมพงษ์, อุมาพร ฉัตรวิโรจน์ และวสุนธนา รตโนภาส. (2565). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว: กรณีศึกษาตำบลคุยบ้านโองอำเภอพรานกระต่ายจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพุทธศาสตร์ มจร อุบลราชธานี, 4(2), 1721-1730.
ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง, จิริยา อินทนา, นงนุช วงศ์สว่าง และชลธิชา บุญศิริ. (2567). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามบทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 4(1), 83-94.
สถาบันอาหาร. (2567, 20 มีนาคม). สารกำจัดแมลงและศัตรูพืช. https://fic.nfi.or.th/foodsafety/upload/damage/pdf/pyrethrum_and_pyrethroides_2.pdf.
สิริภัค สุระพร. (2562). กลไกที่แมลงต้านทานต่อสารฆ่าแมลง. วารสารเกษตรพระวรุณ, 16(1), 34-48.
สุดารัตน์ ไชยเฉลิม. (2561). รูปแบบการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวชุมชนหนองขนานจังหวัดเพชรบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(2), 254-269.
สุธาสินี อั้งสูงเนิน. (2558). ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(10), 50-63.
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. (2562, 16 สิงหาคม). วัตถุอันตราย. https://www.doa.go.th/ard/? page_id=386.
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม. (2563, 10 กันยายน). ข้อมูลเกษตรกร. https://nakhonpathom.doae.go.th/ province/home.html.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308