ประสิทธิผลของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายสำหรับเครื่องรูดเทปของโรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างอุปกรณ์ป้องกันอันตรายสำหรับเครื่องรูดเทปตามมาตรฐานองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ISO 14120, มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ (OSHA) ของสหรัฐอเมริกา 1910.212 และมาตรฐานของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (ANSI) B11 2) ศึกษาประสิทธิผลการลดความเสี่ยงของเครื่องรูดเทปตามมาตรฐาน ISO 12100 โดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายแบบยึดอยู่กับที่ โดยใช้แผ่นสแตนเลส หนา 3 มิลลิเมตร และแผ่นพลาสติกใส (Acrylic) หนา 6 มิลลิเมตรสำหรับเครื่องรูดเทปและสายพาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง โดยใช้แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 10 คน ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ติดตั้งที่เครื่องรูดเทปและสายพานสามารถป้องกันการเข้าถึงจุดหมุนและจุดหนีบได้ดีตามมาตรฐาน ISO 14120, OSHA 1910.212 และ ANSI B11 และเมื่อประเมินความเสี่ยงของเครื่องรูดเทป พบว่าระดับความเสี่ยงในการเข้าถึงแหล่งอันตรายของเครื่องรูดเทปก่อนการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายอยู่ในระดับที่ 4 (เสี่ยงปานกลาง) ลดลงเป็นระดับที่ 1 (ความเสี่ยงต่ำ) หลังการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตราย นอกจากนี้ความพึงพอใจของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก การออกแบบอุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องรูดเทปจำเป็นต้องพูดคุยเพื่อหาข้อสรุปในการซ่อมบำรุงหรือทำความสะอาดร่วมกันก่อนติดตั้ง และควรประเมินความเสี่ยงของเครื่องรูดเทปซ้ำทุกปีเพื่อให้ทราบถึงจุดอันตรายที่เปลี่ยนไป เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กรมควบคุมโรค, กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร. (2559, กันยายน). คู่มือการประเมินความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กรมควบคุมโรค. สคร9 จังหวัดนครราชสีมา http://odpc9.ddc.moph.go.th/DPC5/WorkManual2/s3-3.pdf.
กระทรวงแรงงาน, สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (ม.ป.ป.). สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2562-2566. สำนักงานประกันสังคม, https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/1675d2a95c38687dd649989003beb08a.pdf.
จุฑามาศ คชโคตร และศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. (2560). พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(5), 12-20.
บุญชัย มูลธาร์. (2556, 13 กรกฎาคม). ทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg. https://jokernum.blogspot.com/2013/07/herzberg.html.
มลฤดี โตประดิษฐ์ และดวงฤดี ฉายสุวรรณ. (29 มกราคม, 2562). ปัจจัยต่ออุบัติเหตุในโรงงานขึ้นรูปโลหะด้วยเครื่องบด [Paper]. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.
รัชฎาพร พันธุ์ทวี. (2561, 6 มกราคม). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. CMRU IR, http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1110.
อังกูร ลาภธเนศ และชนะ เยี่ยงกมลสิงห์. (2550). การพัฒนาการลดอุบัติภัยจากเครื่องบดเนื้อโดยใช้ปัจจัยมนุษย์. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14458/ UTCC.res.2007.10.
American National Standards Institute. (2020, January 16). ANSI B11.19-2019: Safeguarding and Machinery Risk Reduction. https://blog.ansi.org/2020/01/ansi-b11-19-2019-safeguarding-machinery-risk/.
Backstrom, T., & Doos, M. (2000). Problems with machine safeguards in automated installations. International Journal of Industrial Ergonomics, 25(6), 573-585. https://doi.org/10.1016/S0169-8141(99)00044-X
Bokotic, D., & Babic, T. (2013). Relationship between Working Conditions and Job Satisfaction: The Case of Croatian Shipbuilding Company. International Journal of Business and Social Science, 4, 206-213.
Etherton, J. R., & Myers, M. (2017). Machine safety research at NIOSH and the future directions. International Journal of Industrial Ergonomics, 6(2), 163-174. https://doi.org/10.1016/0169-8141(90)90020-3
Hariprasadh, R. (2022). Machine Safety Risk Assessment. International Journal for research trends and innovation, 7(6), 1322-1345.
Tremblay, J. C., & Gauthier, F. (2018). Safety of machinery in hospitals: An exploratory study in the province of Quebec, Canada. Safety science, 103, 207-217. https://doi.org/10.1016/j.ssci.2017.08.018
International Standard. (2010). Safety of machinery-General principles for design- Risk assessment and risk reduction. https://cdn.standards.iteh.ai/samples/51528/510735adf40846879 b3a026ecf6956a2/ISO-12100-2010.pdf.
International Standard. (2015). Safety of machinery – Guards-general requirements for the design and construction of fixed and movable guards. https://cdn.standards.iteh.ai/ samples/59545/c1c055c111084169a27aa22bf360583c/ISO-14120-2015.pdf.
Mantel, S. (2024, January 2). OSHA: 1910.212-Standards of machine guarding and general safety guidelines. WORKPLACE Material Handling & Safety, https://www.workplacepub.com/stay-in-compliance/osha-1910-212-standards-for-machine-guarding-and-general-safety-guidelines/.
Poisson, P., Chinniah, Y., & Jocelyn, S. (2016). Design of a safety control system to improve the verification step in machinery lockout procedures: A case study. Reliability engineering & system safety, 156, 266-276. https://doi.org/10.1016/j.ress.2016.07.016
Raziq, A., & Maula-bakhsh, R. (2015). Impact of working environment on job satisfaction. Procedia economics and finance, 23, 717-725. https://doi.org/10.1016/S2212-5671(15)00524-9