การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาประสิทธิภาพการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานโรงพยาบาลศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรงพยาบาลศรีสะเกษจัดเป็นสถานประกอบการประเภทหนึ่งที่บุคลากรต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการสัมผัสสิ่งคุกคามด้านต่างๆ อัตราอุบัติการณ์การเจ็บป่วย/บาดเจ็บจากการทำงานของบุคลากรเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี การดำเนินการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานของโรงพยาบาลศรีสะเกษนั้น ยังขาดประสิทธิภาพในการประเมินทำให้การดำเนินงานอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานโรงพยาบาลศรีสะเกษ ดำเนินการศึกษาด้วยกระบวนการ Plan-Action-Observe-Reflect (PAOR) แบ่งเป็น ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและสาเหตุ และระยะที่ 2 การค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 1) หัวหน้ากลุ่มงานทุกกลุ่มงานของโรงพยาบาล จำนวน 115 คน 2) ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานนำร่องจำนวน 30 คน และ 3) ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของโรงพยาบาล จำนวน 110 คน ผลการศึกษาพบว่า การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานในปัจจุบันขาดประสิทธิภาพ ทั้งในด้านของความครอบคลุมหน่วยงาน และความถูกต้องของผลการประเมิน สาเหตุหลักเกิดจากบุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจในการประเมินและการใช้เครื่องมือประเมิน แนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น ประกอบด้วยการพัฒนาศักยภาพบุคคล โดยใช้รูปแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ร่วมวิจัย การสร้างกลุ่มแกนนำเพื่อดำเนินงานโดยเฉพาะ และการประยุกต์เครื่องมือมาตรฐานที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการศึกษาและพัฒนาที่มีความต่อเนื่อง และให้ผู้ร่วมวิจัยเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัย จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการประเมินความเสี่ยงได้ ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาต่อยอดเป้าหมายในเรื่องของการจัดการความเสี่ยงทางสุขภาพจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่พบ และผลลัพธ์ที่เป็นตัวชี้วัดสำคัญคืออัตราความถี่การบาดเจ็บ/เจ็บป่วยของบุคลากรที่เกี่ยวเนื่องจากงาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กรองกาญจน์ บริบูรณ์ และกรแก้ว ถิรพงษ์สวัสดิ์. (2564). ปัญหาสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 3(2), 221-235.
จิตติพงศ์ สังข์ทอง และนิศากร ตันติวิบูลชัย. (2565). ความรู้ ทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขนขยะของเทศบาลตำบลในจังหวัดภูเก็ต. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 33-45.
จิรัญญา บุรีมาศ, พิมรินทร์ ทองเหล็ก, วงศ์รวี ปลั่งพิมาย และรุ่งรัตน์ ถิ่นทองหลาง. (30 มิถุนายน, 2562). พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา [Poster presentation]. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562, วิทยาลัยนครราชสีมา.
ธฤตกวิน พันธุลี. (2565). ประสิทธิผลของการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 37(1), 193-207.
รักษ์สุดา ชูศรีทอง. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัตติกาล สุขพร้อมสรรพ. (2560). อุบัติการณ์ของการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(3), 107-119.
วรัญญา เขยตุ้ย, วลัยพร จันทร์เอี่ยม, ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล และอภิสรา ทานัน. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง เข็มทิ่มตำ หรือของมีคมบาด ในนักศึกษาทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 7(1), 110-124.
วิลาสินี โอภาสถิรกุล, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2564). ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 42(2), 49-61.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Action Research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสมุทรปราการ. (2563). คู่มือการดำเนินงานอาชีวอนามัยสำหรับบุคลากรสุขภาพ. ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม.
สมปอง พะมุลิลา. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, http://www.nurse.ubu.ac.th/new/?q=node/740.
สิริลักษณ์ บุญประกอบ. (2560). การพัฒนารูปแบบการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากสภาพแวดล้อม ในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองคาย ปี 2560. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 4(1), 47-59.
อมราภรณ์ ลาภเหลือ, อรพันธ์ อันติมานนท์, โกวิทย์ บุญมีพงศ์, ธิติรัตน์ สายแปง และอารีพิศ พรหมรัตน์. (2565). การพัฒนามาตรฐานการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับสถานพยาบาล. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
โรงพยาบาลศรีสะเกษ. (2566). การรายงานข้อมูลตัวชี้วัด KPI THIP ปี 2562-2564 [เอกสารอัดสำเนา]. โรงพยาบาลศรีสะเกษ.
Sullivan, G. M., & Artino, A. R. (2013). Analyzing and interpreting data from likert-type scales. Journal of graduate medical education, 5(4), 541-542. https://doi.org/10.4300/JGME-5-4-18