เว็บแอพพลิเคชั่นการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค และการบาดเจ็บจากการทำงาน สำหรับแรงงานนอกระบบ: งานวิจัยเชิงพัฒนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
แรงงานนอกระบบ เป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน และมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยน้อย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานสำหรับแรงงานนอกระบบและประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่น ขั้นตอนการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดวงจรการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันแรงงานสุขภาพดีใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบ ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปทำแบบประเมินความเสี่ยงจากการทำงานและดูผลการประเมินของตนเอง ในส่วนของเจ้าหน้าที่สามารถเข้าระบบเพื่อรวบรวมสถิติปัญหาด้านอาชีวอนามัยในผู้ประกอบอาชีพ การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่นด้านประสิทธิภาพ ประโยชน์ และการออกแบบ (n=229) พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมากถึงมากที่สุดทุกด้าน จากผลการศึกษาบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสามารถนำเว็บแอปพลิเคชันไปใช้สร้างความตระหนักแก่แรงงานนอกระบบในการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน โดยเข้าไปประเมินการสัมผัสปัจจัยอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานด้วยตนเอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2564. สำนักงานสถิติแห่งชาติ, https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_ detail/2023/20230505094900_22307.pdf.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันวิจัยสังคม. (2565). สถานการณ์แรงงานนอกระบบ: สถานะองค์ความรู้ ความเสี่ยง และแนวปฏิบัติ และแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ 3 ปี (พ.ศ. 2565-2567). สถาบันวิจัยสังคม, http://www.cusri.chula.ac.th/wp-content/uploads/2021/11/รายงานฉบับสมบูรณ์-โครงการสำรวจสถานการณ์แรงงานนอกระบบ-สสส..pdf.
ธนวัฒน์ รื่นวงศ์. (2553). คุณภาพชีวิตและสภาพการทำงานของแรงงานนอกระบบ: การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(1), 85-95.
ธวัชชัย ฉันทวุฒินันท์. (2555). ความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทํางานของแรงงานนอกระบบ อําเภอป่าซาง จังหวัดลําพูน. วารสารสมาคมเวชศาสต์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 2(2), 238-247.
เบญจา ทรงแสงฤทธิ์ และมนตรี ยาสุด. (2561). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับโปรแกรมการบริหารข้อไหล่ในผู้ป่วยภายหลังทำการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องจัดการจังหวะการเต้นของหัวใจ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(6), 572-579.
เพชรัชน์ อ้นโต, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, วสุธร ตันวัฒนกุล และสุนิศา แสงจันทร์. (2562). “SUKPRA” เว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อการดูแลตนเองของพระสงฆ์ในสังคม 4.0. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(1), 96-110.
วชิระ สุริยะวงค์, ธานี แก้วธรรมานุกูล, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, นพมาศ ศรีเพชรวรรณดี และวิไลพรรณ ใจวิไล. (2563). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าว. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(1), 30-41.
วีระพร ศุทธากรณ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล และกัลยาณี ตันตรานนท์. (2561). สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานในกลุ่มผู้ปลูกลำไย. พยาบาลสาร, 45(2), 135-147.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2558). ระบบฐานข้อมูล (Database Systems). วี.พริ้นส์ (1991).
Karlsen, I. L., Svendsen, P. A., & Abildgaard, J. S. (2022). A review of smartphone applications designed to improve occupational health, safety, and well-being at workplaces. BMC Public Health, 22(1520), 1-13. https://doi.org/10.1186/s12889-022-13821-6
International Labour Organization [ILO]. (2022). Informal economy. https://www.ilo.org/global/ topics/employment-promotion/informal-economy/lang--en/index.htm.