การประยุกต์ใช้การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน: กรณีศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

พิษณุ ปันนะราชา
ดลเดช ตั้งตระการพงษ์

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและการประเมินทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อเชื่อมโยงในจังหวัด ระหว่างจังหวัด ระดับภูมิภาค ทั้งการขนส่งสินค้าและคน รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและการเชื่อมโยงเมืองชายแดนด้วยระบบขนส่งชาญฉลาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ระบบขนส่งชาญฉลาดฯ) โดยดำเนินการดังนี้ (1) การกำหนดตัวชี้วัดทั้ง 3 มิติ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประเมินค่าน้ำหนักตัวชี้วัดด้วยการวิเคราะห์หลายเกณฑ์ (2) การพัฒนาทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับแผน ได้แก่ การไม่พัฒนา การพัฒนาแบบปกติ การพัฒนาระบบขนส่งชาญฉลาดฯ (3) การประเมินคะแนนผลกระทบทางเลือกต่อตัวชี้วัด ทั้ง 3 มิติ (คะแนนนำหนัก x ระดับผลกระทบ) ของแต่ละทางเลือกที่เป็นไปได้ ทั้งนี้ผลกระทบหมายถึงผลกระทบเชิงบวก (4) เปรียบเทียบผลคะแนนผลกระทบรวมของทางเลือกที่เป็นไปได้ โดยคะแนนผลกระทบรวมสูงสุดคือทางเลือกที่เหมาะสม ผลการประเมินได้แผนพัฒนาระบบขนส่งชาญฉลาดฯ เป็นทางเลือกที่เหมาะสม จากนั้นกำหนดทางเลือกระดับแผนงานภายใต้แผนพัฒนาระบบขนส่งชาญฉลาดฯ คือ ระบบขนส่งหลักถนน รถไฟ ถนนและรถไฟ ดำเนินการประเมินทำนองเดียวกันได้ระบบขนส่งหลักถนนและรถไฟทางเลือกที่เหมาะสม อนึ่งงานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้ SEA เริ่มต้นที่ดำเนินการร่วมกับการศึกษาด้านวิศวกรรมและผังเมือง ซึ่งการศึกษาแบบสมบูรณ์ต้องดำเนินการตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2550). ผังภาคเหนือ ปี พ.ศ. 2600: กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี. คอนชัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี.

กระทรวงคมนาคม, สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2557). ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565). สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ภาวิณี, เอี่ยมตระกูล, ไอศูรย์ เรืองรัตนอัมพร และภัททิยา ชินพิริยะ. (2560). กรอบการวิเคราะห์นโยบาย

การวางแผนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนเพื่อพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน. The Journal of Architectural/ Planning Research and Studies (JARS), 14(1), 95-122.

https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jars/article/view/104456/83230

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Bureekul, T. (2022). Public Participation in Environmental Management in Thailand.

King Prajadhipok's Institute.

Calthorpe, P. (1993). The next American metropolis: Ecology, community, and the American dream. Princeton architectural press.

Cervero, R. (2027).Transit-oriented development's ridership bonus: a product of self-selection and public policies. Environment and planning A, 39(9), 2068-2085. https://doi.org/10.1068/a38377

Executive Office of Energy and Environmental Affairs. (n.d.). Case Studies - Transit Oriented Development (TOD). Mass.gov, https://shorturl.asia/KlxwX

Institute for Transportation and Development Policy. (2017). TOD Standard (3rd ed.). ITDP, https://www.eltis.org/sites/default/files/trainingmaterials/tod-2017-v3.pdf.

Lynch, K. (1981). A Theory of Good City Form. The MIT Press.