ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1

Main Article Content

สุชาดา ลำพูน
อนัญญา ประดิษฐปรีชา
อารยา ประเสริฐชัย

บทคัดย่อ

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้ามีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19 ความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกเล็งเห็นความสำคัญ การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาระงานและคุณลักษณะของงาน ความยึดมั่นต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน ภาวะหมดไฟในการทำงาน ระดับความตั้งใจคงอยู่ในงาน และปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในช่วงการระบาดของโควิด-19 เขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 528 คน เลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 68.8 มีอายุเฉลี่ย 37.28 ปี มีการรับรู้ภาระงานและคุณลักษณะของงานและความพึงพอใจในงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.86 และ 3.83 ตามลำดับ) ความยึดมั่นต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.49) และมีภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 10.4 กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจคงอยู่ในงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.69) และตัวแปรพยากรณ์ร่วมกันทำนายความตั้งใจคงอยู่ในงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามลำดับ ดังนี้ ความพึงพอใจในงาน ความยึดมั่นต่อองค์กร รายได้ต่อเดือน ภาวะหมดไฟในการทำงานด้านการลดความเป็นบุคคลและด้านความรู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์ อายุ และภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความสำเร็จส่วนบุคคล โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 39.5 (R2 = 0.395) ดังนั้นอายุ รายได้ที่เหมาะสม การประเมินความพึงพอใจในงาน ความยึดมั่นต่อองค์กร และภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นระยะ ช่วยเพิ่มระดับความตั้งใจคงอยู่ในงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชามาส วิชัยดิษฐ, อารยา ประเสริฐชัย และปกกมล เหล่ารักษาวงษ์. (2565). ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดชุมพร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 30(3), 211-221.

กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในประเทศ. กระทรวงสาธารณสุข, https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/? dashboard=province.

เขตสุขภาพที่ 1. (2565). ข้อมูลทรัพยากรหน่วยบริการปฐมภูมิ และระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1. HDC, https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.

ฐิตารีย์ ภูฆัง, นิตยา เพ็ญศิรินภา และพรทิพย์ กีระพงษ์. (2565). บรรยากาศองค์การความเหนื่อยล้า และการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในเครือโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี, 5(2), 79-91.

ทัศไนย ลิ้มเจียมรังษี และนนทิรัตน์ พัฒนภักดี. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะงานและความตั้งใจ

คงอยู่ในงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 6, 175-199.

นครินทร์ ชุนงาม. (2563). สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 348-359.

นฤมล นุ้ยรัตน์ และกัญญดา ประจุศิลป. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สมดุลชีวิตกับการทำงานการสนับสนุนจากองค์การกับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 149-157.

นวลรัตน์ วรจิตติ และกัญญดา ประจุศิลป. (2560). ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 112-120.

นันทาวดี วรวสุวัส, มนัสพงษ์ มาลา, กุลิสลา พิศาลเอก, มนัสพงษ์ มาลา และปราณี เนาวนิตย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจป้องกันภาวะหมดไฟดูแลใจคนทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 (EPI-BP Model) ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 603-613.

พวงพร กอจรัญจิตต์, ณัฐธภา เดชเกษม, กัลยา แก้วธนะสิน, นภสร ไชยภักดี และทรงศิริ นิลจุลกะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารกรมการแพทย์, 42(2), 40-48.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 50-61.

วิลาวัณย์ เพ็งพานิช, มาลีวัล เลิศสาครศิริ และสมพร ชินโนรส. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานความผูกพันต่อองค์กรกับการคงอยู่ในองค์กรของพยาบาลวิชาชีพสำเร็จใหม่ในโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาล, 68(3), 30-38.

สิมาพร พรมสาร, ปิยะณัฐ พรมสาร และพรมสาร รัตนแสงเลิศ. (2564). ความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลศิริราชระหว่างการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. เวชสารแพทย์ทหารบก, 74(3), 197-204.

Cole, A., Ali, H., Ahmed, A., Hamasha, M., & Jordan, S. (2021). Identifying patterns of turnover intention among Alabama frontline nurses in hospital settings during the COVID-19 pandemic. Journal of Multidisciplinary Healthcare, 2021(4), 1783-1794. https://doi.org/10.2147/jmdh.s308397

De Hert, S. (2020). Burnout in healthcare workers: prevalence, impact and preventative strategies. Local and regional anesthesia, 13, 171-183. https://doi.org/10.2147/LRA.S240564

Hart, S. G., Battiste, V., & Lester, P. T. (1984, September 1). Popcorn: A supervisory control simulation for workload and performance research. NTRS, https://ntrs.nasa.gov/citations/19850006206.

Jalili, M., Niroomand, M., Hadavand, F., Zeinali, K., & Fotouhi, A. (2021). Burnout among healthcare professionals during COVID-19 pandemic: a cross-sectional study. International archives of occupational andenvironmental health, 94(6), 1345-1352. https://doi.org/10.1007/s00420-021-01695-x

Matsuo, T., Kobayashi, D., Taki, F., Sakamoto, F., Uehara, Y., Mori, N., & Fukui, T. (2020). Prevalence of health care worker burnout during the coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic in Japan. JAMA network open, 3(8), e2017271. https://doi.org/10.1001/jamanetworkopen.2020.17271

Mueller, C. W., & McCloskey, J. C. (1990). Nurses' job satisfaction: A proposed measure. Nursing research, 39(2), 113-116. https://doi.org/10.1097/00006199-199003000-00014

Muya, M., Katsuyama, K., Ozaki, F., & Aoyama, H. (2014). Development of a scale measuring the job satisfaction of Japanese hospital nurses. Japan Journal of Nursing Science, 11(3), 160-170. https://doi.org/10.1111/jjns.12017

Sinsky, C. A., Brown, R. L, Stillman, M. J., & Linzer, M. (2021). COVID-related stress and work intentions in a sample of US health care workers. Mayo Clinic Proceedings: Innovations, Quality & Outcomes, 5(6), 1165-1173. https://doi.org/10.1016/j.mayocpiqo.2021.08.007

Su, L., Wichaikhum, O. A., & Abhicharttibutra, K. (2023). Predictors of organizational commitment among Chinese nurses during the COVID‐19 pandemic. International Nursing Review, 70(1), 111-116. https://doi.org/ 10.1111/inr.12775

World Health Organization. (2021, January 29). Listings of WHO’s response to COVID-19. https://www.who.int/news-room/detail/29-06-2020-covidtimeline.