ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของนิสิตสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

Main Article Content

อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล
กานต์สินี วัฒนพฤกษ์
ปรียาภัทร มั่นเพ็ชร
ชลิตา มณีวงค์
ปนัดดา สุธีสุนทรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ (ภูมิลำเนา เส้นรอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย) ปัจจัยเอื้อ (สิทธิการรักษาพยาบาล การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพเชิงรุก การใช้อินเทอร์เน็ต) และปัจจัยเสริม (สถานภาพของครอบครัว การได้รับข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพจากครอบครัว อาจารย์ กลุ่มเพื่อนและสื่อมวลชน) กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. และแบบสอบถาม (สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.81) โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ภูมิลำเนา การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพเชิงรุก การใช้อินเทอร์เน็ต สถานภาพครอบครัว และการได้รับข่าวสารความรู้ด้านสุขภาพจากครอบครัว อาจารย์ กลุ่มเพื่อนและสื่อมวลชน ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมและบริการที่ช่วยเสริมระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้นิสิตมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2560, 14 กันยายน). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยหลัก 3 อ. 2 ส.. สยามมีเดีย, http://live.siammedia.org/index.php/article/chit-chat-health/21163.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา. (2561). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561. โรงพยาบาลนครพิงค์, http://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed /mFile/20180627124613.pdf.

แก้วตา สังขชาติ. (2562). การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง. มูลนิธิสุขภาพภาคใต้.

พรวิภา ศิริพิชญ์ตระกูล, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า และดุสิต สุจิรารัตน์. (2563). ความรอบรู้ทางโภชนาการในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 50(2), 61-75.

ยุวรัตน์ ม่วงเงิน. (2562). คู่มือการพยาบาลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตในผู้ใหญ่ที่มีภาวะก่อนเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2. งานการพยาบาลตรวจรักษาผู้ป่วยนอก ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

วัชราพร เชยสุวรรณ, อมลวรรณ ตันแสนทวี และคณะ. (2561, 1 ธันวาคม). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nmdjournal/issue/view/11523.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183-197.

ศิริวรรณ ทิพยรังสฤษฎ์ และปวีณา ปั้นกระจ่าง. (2561). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561. ศูนย์วิิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สกาวเนตร ไทรแจ่มจันทร์, วัลลภา อันดารา, อุษณีย์ บุญบรรจบ และรฐานุช ถิ่นสอน. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของประชาชนในชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางเขน (คลองถนน). วารสารพยาบาลทหารบก, 22(6), 276-386.

สมจิตต์ สินธุชัย, นุสรา นามเดช, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, กันยารัตน์ อุบลวรรณ และปัฐยาวัชร ปรากฏผล. (2564). คู่มือการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสำหรับบุคลากรสุขภาพ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก.

สมสุข ภาณุรัตน์, พรพรรณ ภูสาหัส, สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล, พัชรี กระจ่างโพธิ์, วิถี ธุระธรรม และภาสกร เนตรทิพย์วัลย์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(1), 86-94.

อภิญญา อินทรรัตน์. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 174-178.

อลงกรณ์ สุขเรืองกูล, จักรพันธ์ โพธิภาพ, วสันต์ชาย สุรมาตย์, มณฑิรา ชนะกาญจน์, กัลยา ปังประเสริฐ และเพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 16(1), 156-171.

Cheen, M. H. H., Tan, Y. Z., Oh, L. F., Wee, H. L., & Thumboo, J. (2019). Prevalence of and factors associated with primary medication non-adherence in chronic disease: A systematic review and meta-analysis. Int. J. Clin. Pr., 73, e13350.

Global Burden of Disease Collaborative Network. (2022, September 11). Global Burden of Disease Study 2019 (GBD 2019) Results. Institute for Health Metrics and Evaluation, https://vizhub.healthdata.org/gbd-results/.

Jane Ling, M. Y., Ahmad, N., & Aizuddin, A. N. (2023). Risk perception of non-communicable diseases: A systematic review on its assessment and associated factors. PLoS ONE, 18(6), e0286518. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0286518

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Seedaket S., Turnbull N. & Phajan T. (2020). Factors associated with health literacy section for public health students. Journal of Clinical and Diagnostic Research, 14(5), LC06-LC09. https://doi.org/10.7860/JCDR/2020/43557.13699

Suksatan, W., Ruamsook, T., Prabsangob, K. (2020). Factors Influencing Health Literacy of Students in Health Science Curriculum: A Cross-sectional Study. Indian Journal of Public Health Research & Development, 11(7), 1469–1474. https://doi.org/10.37506/ijphrd.v11i7.10303