ประสิทธิผลของกิจกรรมกระตุ้นแรงบันดาลใจต่อการลดภาวะซึมเศร้าในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ชลวิภา สุลักขณานุรักษ์
อูน ตะสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมกระตุ้นแรงบันดาลใจต่อการลดภาวะซึมเศร้าในการเรียนของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หญิงและชายอายุ 18-22 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1-4 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปด้านลักษณะบุคคล ส่วนที่ 2 แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 2 คำถาม และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม ส่วนที่ 3 แบบสอบถามภาวะซึมเศร้าต่อการเรียน 15 คำถาม และจัดกิจกรรมกระตุ้นแรงบันดาลใจต่อการลดภาวะซึมเศร้าในการเรียน ซึ่งจะจัดกิจกรรมก่อนการเรียนในแต่ละสัปดาห์ จำนวนทั้งสิ้น 4 สัปดาห์


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มควบคุมเป็นเพศหญิงร้อยละ 56.7 เพศชายร้อยละ 43.3 อายุเฉลี่ย 19.77±  0.50 กลุ่มทดลองเป็นเพศหญิงร้อยละ 60.0 เพศชายร้อยละ 40.0 อายุเฉลี่ย 20.17± 0.94 กลุ่มควบคุม มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อย ร้อยละ 33.3 มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ร้อยละ 6.7 มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง ร้อยละ 3.3 ส่วนกลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าระดับน้อยร้อยละ 13.3 มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางร้อยละ 3.3 เมื่อพิจารณาระดับภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มควบคุมมีภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนระดับปานกลางร้อยละ 26.7 และระดับรุนแรงร้อยละ 10.0 ส่วนกลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนระดับปานกลางร้อยละ 16.7 และระดับรุนแรง ร้อยละ 3.3 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนของนักศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าต่อการเรียนของนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม t = 2.515, p-value = 0.015, 95%CI = 4.33 (0.88 - 7.78) สรุปผล ควรมีการคัดกรองภาวะซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าและส่งเสริมการจัดกิจกรรมกระตุ้นแรงบันดาลใจต่อการลดภาวะซึมเศร้าในนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลนัทธ์ คล่องดี และสุรชัย เฉนียง. (2562). ศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม. วารสารเกื้อการุณย์, 26(1), 187-199.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564, 12 กรกฎาคม). สถานการณ์ภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย. https://dmh.go.th/.

กรมสุขภาพจิต, โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. (2562, ธันวาคม). รายงานการเข้าถึงบริการผู้ป่วยซึมเศร้า. ศูนย์ความรู้โรคซึมเศร้าไทย, https://thaidepression.com/www/report/main_report/.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต. (2564, 12 กรกฎาคม). สถานการณ์ภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย. กรมสุขภาพจิต, https://dmh.go.th/.

เกสร มุ้ยจีน. (2560). ผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3), 48-60.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และนรีมาลย์ ละไพจิตร. (2558). การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานทางสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐฐพัชร์ จันทร์ฉาย และวรรณี เดียวอิศเรศ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางสุขภาพในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง:การทบทวนวรรณกรรมเชิงบูรณาการ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 17-26.

ณัฐสุดา เต้พันธ์, ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ, ณัฐทร พิทยรัตน์เสถียร และดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์. (2562, 18 มีนาคม). เข้าใจโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, https://www.chula.ac.th/cuinside/17693/.

ณิชาภัทร มณีพันธ์, สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2559). ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(3), 80-91.

ดวงใจ วัฒนสินธุ์. (2559). การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(1), 1-12.

ทัชชญา นิธิศบุณยกร. (2558). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเสม็ดอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทัชชา สุริโย. (2559). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มที่มีต่อการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมในวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธวัชชัย พละศักดิ์, รังสิมันต์ สุนทรไชยา และรัชนีกร อุปเสน. (2560). ผลของโปรแกรมการบำบัดโดยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(1), 60-74.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห และจินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. (2561). ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถามฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(4), 321-324.

พัชราวรรณ แก้วกันทะ และสมพร รุ่งเรืองกลกิจ. (2558). ความชุกของภาวะซึมเศร้าใน นักศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่งใน จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร, 42(4), 48-64.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กองบริการการศึกษา. (2564, 10 กรกฎาคม). จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. https://www.aru.ac.th/regis/?page=euni.

วัลลภา กิตติมาสกุล, นุชนาถ บรรทุมพร และสารรัตน์ วุฒิอาภา. (2562). ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่ออาการซึมเศร้าของวัยรุ่นที่ถูกทารุณกรรม. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(1), 329-337.

ศุภชัย ตู้กลาง, อรพรรณ ทองแตง, ธีรศักด์ สาตรา และสุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนวัยรุ่นตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(3), 283-2914.

สมบัติ สกุลพรรณ์, สุพิศ กุลชัย และดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2559). ผลของโปรแกรมการบำบัดด้วยการ แก้ปัญหาแบบกลุ่มต่อภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการที่มีภาวะซึมเศร้าที่มารับบริการในสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(3), 109-120.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, ธรณินทร์ กองสุข, ณรงค์ มณีทอน, เบญจลักษณ์ มณีทอน, กมลเนตร วรรณเสวก, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, ธีราภา ธานี และจินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. (2549). การพัฒนาและความเที่ยงตรงของแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด 2 คำถามในชุมชนไทยอีสาน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 50, 2-13.

อารีรัตน์ สิริพงศ์พันธ์, การุญพงค์ ภัทรามรุต, นิวัฒน์ชัย นามวิชัยศิริกุล และเศรษฐวิทย์ ภูฉายา. (2561). ความชุกของภาวะซึมเศร้าและภาวะเครียดในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Barley, E., & Lawson, V. (2016). Using health psychology to help patients: common mental health disorders and psychological distress. Br J Nurs., 25(17), 966-974.

Firth, J., Rosenbaum, S., Stubbs, B., Gorczynski, P., Yung, A. R., & Vancampfort, D. (2016). Motivating factors and barriers towards exercise in severe mental illness: a systematic review and meta-analysis. Psychol Med., 46(14), 2869-2881.

Griffiths, K. M., Bennett, K., Walker, J., Goldsmid, S., & Bennett, A. (2016). Effectiveness of MH-Guru, a brief online mental health program for the workplace: A randomised controlled trial. Internet Inter, 20(6), 29-39.

Hauenstein, E. J. (2003). Depression in adolescence. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs, 32(2), 239-248.

Islam, M. A., Low, W. Y., Tong, W. T., Yuen, C. W., & Abdullah, A. (2018). Factors associated with depression among University Students in Malaysia: A cross-sectional study. Proceedings of The International Meeting of Public Health, Malaysia, 2, 415-427.

Johnstone, K. M., Kemps, E., & Chen, J. (2018). A Meta-Analysis of Universal School-Based Prevention Programs for Anxiety and Depression in Children. Clin Child Fam Psychol Rev, 21(4), 466-481.

Thanoi, W., Phancharoenworakul, K., Thompson, E. A, Panitrat, R., & Nityasuddhi, D. (2010). Thai adolescent suicide risk behaviors: testing a model of negative life events, rumination, emotional distress, resilience and social support. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 14(3), 187-202.