ความเสี่ยงทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพบริการส่งอาหารในพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ชัยวัฒน์ เหลี่ยมสิงขร
กาญจนา นาถะพินธุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงทางสุขภาพจากการประกอบอาชีพบริการส่งอาหาร ในพื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม พบว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพบริการส่งอาหาร ร้อยละ 17.01 เมื่อวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุโดยใช้สถิติ Multiple logistic regression แล้วพบว่าระยะทางที่ไปส่งอาหารให้กับลูกค้ามากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไป มีความสอดคล้องกับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 ร้อยละ 42.15 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multiple logistic regression แล้วพบว่าจำนวนวันที่ปฏิบัติงานต่อสัปดาห์ จำนวน 7 วันต่อสัปดาห์ มีความสอดคล้องกับการติดเชื้อโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อพบว่า อาการปวดเอว ปวดไหล่ และปวดกล้ามเนื้อแขน มากที่สุด ร้อยละ 73.56, 72.25 และ 71.73 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์อาการปวดกล้ามเนื้อโดยใช้สถิติ Simple logistic regression พบว่าจำนวนรอบการรับส่งอาหาร มากกว่า 40 รอบต่อวัน มีความสอดคล้องกับอาการปวดกล้ามเนื้อคอ ปวดไหล่ ปวดหลังส่วนบน ปวดสะโพก ปวดเอว ปวดกล้ามเนื้อแขน ปวดข้อมือและมือ ปวดต้นขา ปวดเข่า ปวดน่อง ปวดเท้าและข้อเท้า และระยะทางที่ส่งอาหารมากกว่า 10 กิโลเมตร สอดคล้องกับอาการปวดสะโพก รวมทั้งผู้ที่มีดัชนีมวลกายที่มีค่ามากกว่า 30.0 สอดคล้องกับอาการปวดต้นขาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงคมนาคม, กรมการขนส่งทางบก. (2564, 1 สิงหาคม). คู่มือการขับขี่จักรยานยนต์อย่างปลอดภัย. https://library.dlt.go.th/book-detail/11077

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2565. https://citly.me/jlXw2

กรมการขนส่งทางบก, กองแผนงาน, กลุ่มสถิติการขนส่ง. (ม.ป.ป.). รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบก ประจำปีงบประมาณ 2564. https://web.dlt.go.th/statistics/load_file_select_new_car.php?t=7&tmp=6916.65312105983&data_file=98.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, กองความปลอดภัยแรงงาน, ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 7 (ราชบุรี). (ม.ป.ป.). คู่มือการเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยการใช้ยานพาหนะขนส่งทางถนน. pubHTML5, https://drive.google.com/file/d/1sfGyneH8A_aksczVNuPxT8jos7ocIa6C/view.

กาญจนา นาถะพินธุ. (2551). อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กุลธิดา ท่าทราย, พิรัชฎา มุสิกะพงศ์ และฤทธิรงค์ พันธ์ดี. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 14(1), 50-67.

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต. (บรรณาธิการ). (2565). แผนและมาตรการ การบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19). กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

จตุพร เลิศฤทธิ์. (2550). การประเมินความเสี่ยงต่อความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อในคนงานโรงงานทอผ้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปัทมา เสนทอง. (2564). การยศาสตร์: หลักการและการประยุกต์ใช้ Ergonomics: Principles and Applications. ไอคิวมีเดีย.

ปุญญภพ ตันติปิฎก และภัทรพล ยุทธศักดิ์นุกูล. (2564, พฤศจิกายน 2). อินไซด์ธุรกิจ Food delivery : เดินหน้าขยายตลาดพร้อมบริการที่หลากหลาย. SCB Economic Intelligence Center, www.scbeic.com/th/detail/file/product/7906/g3uws6soy7/EIC_Note_Fooddelivery_20211102.pdf.

พัชร์สิริ ศรีเวียง และกษมา ภูสีสด. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 20-38.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564, สิงหาคม 19). โควิด-19 และมาตรการควบคุมการระบาด...คาดทั้งปี 2564 มูลค่าตลาดจัดส่งอาหารขยายตัวร้อยละ 18.4 – 24.4 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3256). https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/food-delivery-z3256.aspx.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์กรมหาชน). (ม.ป.ป.). การศึกษาสถานการณ์ ปัจจัย และผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ขับรถจักรยานยนต์ส่งอาหาร. https://www.tosh.or.th/e-book/Food_Delivery/mobile/index.html#p=14.

สยมพร ศิรินาวิน. (2563). โควิด-19 ความรู้ สู่ปัญญา พัฒนาการปฏิบัติ. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. (2559). การจัดการความปลอดภัย. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Long, T. T., Richard, T., & Hang, T. T. N. (2021). Investigating health issues of motorcycle taxi drivers: A case study of Vietnam. Journal of Transport & Health, 20, 1-8. https://doi.org/10.1016/j.jth.2020.100999

Nguyen, A. T. T., Ha Lan, A. N., Thi Bich, H. N., Quang, H. N., Thi Ngoc, L. H., Dorina, P., Binh, N. T., & Minh, G. N. (2022). Health and safety risks faced by delivery riders during the Covid-19 pandemic. Journal of Transport & Health, 25, 1-12. https://doi.org/10.1016/j.jth.2022.101343

Ram, L., Ranabir, P., Arushi, B., Luis, R. M. S, & Amit, A. (2020). Important Aspects of Human Behavior in Road Traffic Accidents. Indian Journal of Neurotrauma, 17(2), 85-99.