ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลกับพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล กับพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จำนวน 351 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson’s correlation coefficient ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( = 19.61 จากคะแนนเต็ม 28 คะแนน) และมีพฤติกรรมการใช้ยาที่ถูกต้อง อยู่ในระดับสูง ( = 2.60) ส่วนผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล กับพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชน พบว่า ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ด้านการใช้ยาตามฉลากและซองยา และด้านการเข้าใจความหมายของคำศัพท์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการใช้ยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .428 และ r = .424) ด้านการรู้ทันสื่อโฆษณา และด้านการเลือกซื้อและใช้ยา มีความ สัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับพฤติกรรมการใช้ยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ (r = .180 และ r = .106) ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อให้ประชาชนมีการใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
จันทร์จรีย์ ดอกบัว. (2562). โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้ค่า ใช้ยาอย่างพอเพียง Smart School Rational Drug Use กรณีศึกษา อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. โรงพยาบาลปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ.
จิรชัย มงคลชัยภักดิ์, จิรวัฒน์ รวมสุข และเอมอร ชัยประทีป. (2555). การศึกษาความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในร้านยาชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(2), 91-100.
นุศราพร เกษสมบูรณ์, ทวีศักดิ์ มโนมยิทธิกาญจน์ และกฤดา ลิมปนานนท์. (2560). ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทย พ.ศ. 2538-2556. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ลักษณ์.
ภมร ดรุณ และประกันชัย ไกรรัตน์. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 71-82.
โรงพยาบาลกันตัง. (2562). รายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2562. โรงพยาบาลกันตัง.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2554). นโยบายแห่งชาติด้านยา ยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 การใช้ยาอย่างสมเหตุผล. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2561). สรุปรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาประจำปี 2560. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2563). สรุปรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาประจำปี 2562. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กองบริหารการสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายละเอียดตัวชี้วัด (KPI Template). สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2562). รายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ประจำปีงบประมาณ 2562. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2563). รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ปีงบประมาณ 2563. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง.
เอกชัย ชัยยาทา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการรับประทานยาและการมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในจังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อารีย์ แร่ทอง. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 62-70.
Best, J. W. (1978). Researchin Education Englewood Cliffs. Prentice Hall.
Bloom, B. S. (1968). Mastery learning. UCLA – CSEIP evaluation Comment.1(2). Universityof CaliforniaatLos Angeles.
Hinkle, D. E., & William W. & Stephen, G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior. Sciences (4th ed.). Houghton Mifflin.
Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21st century. Health Promotion International, 15(8), 259-267. https://doi.org/10.1093/heapro/15.3.259
Sorensen, K., Broucke, S. V., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., & Brand, H. (2012). Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12(80), 1-13.