การสำรวจปัญหาทางการยศาสตร์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ไตรภพ บางสาลี
นพรุจ คงเกิด
วิภาดา ศรีเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาสภาพทางการยศาสตร์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 253 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกต Rapid Upper Limb Assessment  (RULA ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ จำนวน ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด


 


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกมากที่สุด ในช่วง 7 วัน ที่ผ่านมา 3 ลำดับแรก ได้แก่ หลังส่วนล่าง หลังส่วนบน และแขนส่วนบน ร้อยละ 32.41, 27.28 และ 26.09 ตามลำดับ และในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างมีอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูก มากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ หลังส่วนล่าง แขนส่วนบน ข้อมือ/มือ ร้อยละ 39.13, 38.74 และ 37.54 ตามลำดับ จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก พบว่ามีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในระดับ 3 หมายความว่างานนั้นเริ่มเป็นปัญหาควรทำการศึกษาเพิ่มเติม และควรรีบปรับปรุง นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการได้ยินเสียงจากเครื่องมืออุปกรณ์ทำนานานเกิน 30 นาที ร้อยละ 100.00 มีการยกของหนักขณะทำนา ร้อยละ 91.30 การใช้มือหรือแขนในท่าทางหรือมีลักษณะเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ร้อยละ 77.08


 


อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกในเกษตรกรส่วนใหญ่เกิดจากท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรมีการจัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปส่งเสริมความรู้กับเกษตรกรให้เกษตรกรนำความรู้ไปปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน และลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกจากการทำงานต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2561, สิงหาคม). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี พ.ศ. 2560. กรมควบคุมโรค, http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_60.pdf.

จีรนันท์ ธีระธารินพงศ์ และวีระพร ศุทธากรณ์. (2557). ความชุกของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบ

โครงร่างกล้ามเนื้อและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานในกลุ่มอาชีพสานตะกร้าไม้ไผ่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 44(33), 273-287.

ณัฐธญา วิไลวรรณ. (17 มิถุนายน, 2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมี

กำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี [Paper]. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน, วิทยาลัยนครราชสีมา.

ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, กาญจนา นาถะพินธุ, วรรณภา อิชิดะ และทวีศักดิ์ ปัดเต. (2562). พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำนา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 4-11.

ประกาศิต ทอนช่วย และภคิณี สุตะ. (2562). ปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการปลูกข้าวโพดของเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 7(1), 27-39.

มนัส รงทอง, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, ดุสิต สุจิรารัตน์ และเพชรรัตน์ ภูอนันตานนท์. (2562). ความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในแรงงานใหม่เก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 23(1), 77-91.

วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ธานี แก้วธรรมานุกูล, อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์ และวิไลพรรณ ใจวิไล. (2562). ความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานของเกษตรกรชาวนา: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 46(4), 37-48.

วีรชัย มัฎฐารักษ์. (2561). การลดความสูญเสียในการทำงานของเกษตรกรชาวสวนยางพาราด้วยวิธีการประเมินผลทางการยศาสตร์: กรณีศึกษาในพื้นที่อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 14(1), 13-14.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านการเกษตรที่สำคัญของจังหวัด. https://www.opsmoac.go.th/phitsanulok-dwl-files-431291791098.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดพิษณุโลก. (2565, 24 มกราคม). เกษตรกรพิษณุโลก ผลิตสินค้าเน้นคุณภาพสร้างอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภค. https://www.opsmoac.go.th/phitsanulok-article_prov-preview-421091791873?fbclid=IwAR1TskUwhqYJtafHgmuaupLxcScXoZ8xwFTNHsKXk49GPLgpLvi-9NUzIM.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2563). การประเมินความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการสัมผัสปัจจัยทางการยศาสตร์ในการทำงานของเกษตรกรปลูกยางพารา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 32-44.

สุภาพร ภูมิเวียงศรี, นฤมล สินสุพรรณ และอำนาจ ชนะวงษ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในผักผลไม้และผลติภัณฑ์ทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(2), 36-56.

สาริณี จันทน์วัฒน์ และพีรญา อึ้งอุดรภักดี. (2564). ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อของชาวนา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Nursing and Public Health, 8(3), 318-328.

อรรถพล แก้วนวล, บรรพต โลหะพูนตระกูล และกลางเดือน โพชนา. (2560). ความชุกของความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในอาชีพต่าง ๆ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(2), 53-64.

อนิรุจน มะโนธรรม. (2564). การศึกษาแนวทางด้านการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงตอการเกิดอาการผิดปกติทางระบบโครงรางกระดูกและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวของกับการทํางานของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดลําปาง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(1), 95-103.

Kecia. R. V., & Morgan. D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McAtamney, L., & Nigel Corlett, E. (1993). RULA: a Survey Method for the Investigation of World-Related Upper Limb Disorders. Applied Ergonomics, 24(2), 91-99.