แนวทางการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรมเกษตร

Main Article Content

ปฏิญญา สุขวงศ์
สุรชาติ สินวรณ์
ณัฐบดี วิริยาวัฒน์
สุวิทย์ นำภาว์
วันปิติ ธรรมศรี

บทคัดย่อ

อุตสาหกรรมเกษตรในประเทศไทยมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนาบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้มีทักษะที่จำเป็นเฉพาะประเภทอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัญหาของการพัฒนากำลังคน และสำรวจความต้องการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และ 2) หาแนวทางการพัฒนาบุคคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงานในสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรมเกษตร โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินโครงการวิจัยประกอบไปด้วย แบบสอบถามเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่าง ๆ ในสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 437 ตัวอย่าง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 ตัวอย่าง และการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 ตัวอย่าง ที่เป็นตัวแทนจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรมเกษตร


 


ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึง ความต้องการเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในอุตสากรรมเกษตรโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก สำหรับแนวยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนากำลังคนด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประกอบไปด้วยการพัฒนาหลักสูตรการอบรมที่เฉพาะทางตามประเภทอุตสาหกรรม การจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษาและแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ผู้มีประสบการณ์ การส่งเสริมความร่วมมือกับสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ในการวิจัย และเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับการฝึกปฏิบัติ ในส่วนเนื้อหาการฝึกอบรมเพื่อเพิ่ม/ฟื้นฟูทักษะที่มีความต้องการประกอบไปด้วย การป้องกันอุบัติเหตุ การควบคุมและป้องกันอัคคีภัย และการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). สถิติสะสมจำนวนโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ (เปิดดำเนินการ) ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 จำแนกตามหมวดอุตสาหกรรม ณ สิ้นปี 2563. https://www.diw.go.th/ webdiw/static-fac/.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, กองความปลอดภัยแรงงาน. (2565, มกราคม). ข้อมูลสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า. http://osh.labour.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2577&Itemid=227.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, กองนิติการ. (2560, 24 พฤศจิกายน). การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน. http://legal.labour.go.th/2018/2017-11-24-07-20-37/145-2017-11-24-08-54-01.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน. (ม.ป.ป.). สรุปสถิติการเกิดอุบัติเหตุ ในโรงงานประจำปี พ.ศ. 2565. กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย, http://reg3.diw.go.th/safety/ wp-content/uploads/2023/01/acc1-12-65.pdf.

กระทรวงแรงงาน, สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (ม.ป.ป.). สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2560-2564. สำนักงานประกันสังคม, https://www.sso.go.th/ wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/84b88f068b29c808bf3efe3302802234.pdf.

กุลชาติ อารีราษฎร์พิทักษ์. (2560). ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุท ชลบุรี, 3(2), 40-47.

ธิดารัตน์ โชคสุชาติ. (2554). การกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ: มาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 15(19), 113-124.

บุษยาพร วิริยะศิริ. (2556). นโยบายอุตสาหกรรมอาหารของภาครัฐ. วารสารส่งเสริมการลงทุน, 24(12), 6-7.

ปรีชา พินชุนศรี. (2558). ระบบการจัดการสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(1), 12-21.

พิณนภา หมวกยอด. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 444(1), 150-184.

วิชญะ น้อยมาลา. (2564). ทักษะจำเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1), 45-57.

สายสกุล ฟองมูล. (2563). ผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ที่มีผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 37(1), 118-125.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม. (2561). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: อุตสาหกรรมการเกษตร. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย. (2556). ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับโรงงานที่มีฝุ่นจากการเกษตรที่ระเบิดได้. ธวิพัฒน์.

สุชาดา เรืองแสงทองกุล. (2558). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองลูกจ้างด้านความปลอดภัยในการทำงานตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554: ศึกษากรณีสถานประกอบการย่านรังสิต และใกล้เคียงจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 5(2), 230-240.

สุเนตรา เล็กอุทัย. (2553). ความสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารต่อระบบเศรษฐกิจไทย. TRF Policy Brief, 9, 1-8.

อุทัยวรรณ ของสิริวัฒนกุล. (2562, กันยายน). เครื่องจักรและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมกับทิศทางของแรงงานไทย. GSB RESEARCH, https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2019/10/GR_ hotissue_ robot_inter_detail.pdf.

Austin, J. E. (1992). Agroindustrial project analysis: Critical Design Factors (2th ed.). The John Hopkins University.

Aw, T. C., & Blair, I. (2010). Occupational infections. In Cohen, J., Opal, S.M., & Powderly, W.G. (Eds.), Infectious Diseases (pp. 715-726). Mosby.

Cliff, K. S. (1981). Agriculture - The occupational hazards. Public Health, 95(1), 15-27. https://doi.org/10.1016/S0033-3506(81)80096-0

Cloney, C. (n.d.). Combustible dust incident report. Version #1. DustEx Research Ltd. Newson Gale, https://newson-gale.com/wp-content/uploads/2021/05/Dust-Safety-Science-2020-YearEnd-Incident-Report-5-5.pdf.

Dangmei, J., & Singh, A. (2016). Understanding the generation Z: The future workforce. South-Asian Journal of Multidisciplinary Studies, 3(3), 1-5.

Eames, C., & Coll, R. K. (2010). Cooperative Education: Integrating Classroom and Workplace Learning. In Billett, S. (Ed.), Learning Through Practice: Models, Traditions, Orientations and Approaches (pp. 180-196). Springer Netherlands.

Gressgard, L. J. (2014). Knowledge Management and Safety Compliance in a High-Risk Distributed Organizational System. Safety and Health at Work, 5. https://doi.org/10.1016/j.shaw. 2014.03.002

Khatun, A. (2018). Sharing tacit knowledge: The essence of knowledge management. In Malheiro, A., Ribeiro, F., Leal Jamil, G., Rascao, J., & Mealha, O. (Eds.), Handbook of Research on Knowledge Management for Contemporary Business Environment (pp. 50-63). IGI Global. https://doi.org/10.4018/978-1-5225-3725-0.ch004.

Koroma, E. T., & Kangbai, J. B. (2020). Agro-industrial accidents linked to length of service, operation site and confidence in employer adherence to safety rules. BMC Public Health, 20, 591. https://doi.org/10.1186/s12889-020-08733-2

Leso, V., Fontana, L., & Iavicoli, I. (2018). The occupational health and safety dimension of Industry 4.0. Med Lav, 110(5), 327-338. https://doi.org/10.23749/mdl.v110i5.7282

Mascarenhas, A., Silva, A., & Marques, M. (2015). Agriculture, Agro-Industry and Risk Analysis. XV Safety, Health and Environment World Congress, 51-55. https://doi.org/10.14684/SHEWC.15.2015.51-55

Mohd Fazi, H., Nik Mohamed, N. M. Z., Ab Rashid, M. F. F., & Mohd Rose, A. N. (2017). Ergonomics study for workers at food production industry. MATEC Web Conf., 90, 01003.

https://doi.org/10.1051/matecconf/20179001003

OSHA. (n.d.). OSHA's Coorperative Programs. UNITED STATES DEPARTMENT OF LABOR, https://www.osha.gov/cooperativeprograms.

Sebastian Kubasinski, M. S. (2021). Research on Corporate Social Responsibility (CRS) in Terms of Work Safety. European Research Studies Journal, 24(Special Issue 5), 626-636. https://doi.org/10.35808/ersj/2755

Spickett, J., & Wallis-Long, E. (2011, February). Occupational Health and Safety in Small Enterprises. Oxford Academic. https://doi.org/10.1093/acprof:oso/9780195380002.003.0022.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.