ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเพื่อพัฒนาการคิดเชิงบวกแก่ผู้ติดยาเสพติดใน กลุ่มผู้ใช้แรงงานของสำ นักงานคุมประพฤติ จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

โกสุมวดี จิตเกษม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบ เทียบผลของการพัฒนาการคิดเชิงบวกของผู้ติดยาเสพติด กลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตาม แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (2) เปรียบเทียบผลของการ พัฒนาการคิดเชิงบวกของผู้ติดยาเสพติดกลุ่มทดลอง ที่ใช้ ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยมและ กลุ่มควบคุมที่ใช้ข้อสนเทศ และ (3) เปรียบเทียบผลของ การพัฒนาการคิดเชิงบวกของผู้ติดยาเสพติดกลุ่มทดลอง ระยะก่อนการทดลองกับระยะติดตามผล


กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติด ยาเสพติดอายุตั้งแต่ 18 - 60 ปี ของสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจงและใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยมโปรแกรมการให้ข้อสนเทศ และแบบทดสอบการคิดเชิงบวก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.916 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ติดยาเสพติดกลุ่มทดลอง ที่ ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิด ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีการพัฒนาการคิดเชิงบวกสูงขึ้นกว่า ก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) ผู้ติดยาเสพติดกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดย ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีการพัฒนาการคิดเชิงบวกสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม ภายหลัง การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (3) ในระยะติดตามผล ผู้ติดยาเสพติดในกลุ่มทดลองมีการ คิดเชิงบวก สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมคุมประพฤติ (2554) สรุปรายงานผลการดำเนินงานของ กรมคุมประพฤติ. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2554, จาก http://210.246.159.139/m2/probation/index.php

ณรงค์วิทย์ แสนทอง (2553) คิดบวก. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2554, จาก http://www.peoplevalue.co.th

ณีน์นรา ดีสม (2554) ผลของโปรแกรมความคิดเชิงบวกที่ มีต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิลภา อังสุภะ (2550) ผลของกระบวนการกลุ่มทางจิตวิทยา แบบผสมผสาน แนวคิดมนุษยนิยม และปัญญานิยม ต่อความคิดเชิงบวก และความสามารถในการเอาชนะ อุปสรรคของเยาวชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประภัสราภา จันทรวงศา (2548) ลักษณะส่วนบุคคล และความคิดเชิงบวกกับความเครียดในการเรียน ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขต พระนครศรีอยุธยา หันตรา. สารนิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุพิน พุ่มหิรัญ (2550) ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว ต่อ การควบคุมตนเอง ในพฤติกรรมติดเกมคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน รัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

วรางคณา รัชตวรรณ (2554) การศึกษาและพัฒนาการมอง โลกในแง่ดีของนักเรียนวัยรุ่น โดยการให้คำปรึกษา กลุ่ม. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชาการดอทคอม (2553) การคิดเชิงบวก. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.banprak-nfe. com/webboard/index.php/topic,722.0/prev_ next,prev.html#new

ศิริรัตน์ แสนยากุล (2546) ผลของการใช้ชุดกิจกรรม แนะแนวโดยกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพระแม่มารี สาธุประดิษฐ์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศูนย์วิชาการต้านยาเสพติด (2553) ธรรมชาติของผู้ติดยา เสพติด. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2554, จาก http:// nctc.oncb.go.th

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่ (2553) ปัจจัยทางจิต สังคมและความตั้งใจเลิกยาเสพติดของผู้ติดยาเสพติด ในศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้น เมื่อ 27 ตุลาคม 2554, จาก http://blog.drugcare.net

สุธาสินี นาคสินธุ์ (2552) การวิเคราะห์องค์ประกอบของการ คิดเชิงบวกของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.