ผลลัพธ์โปรแกรมการเตรียมความพร้อม ด้านสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพรองรับ การเปิดตลาดเสรีอาเซียน ปี 2558: กรณีศึกษา โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

กัลยา จงไมตรีพร
ดุษฎี พวงสุมาลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการเตรียมความ พร้อมด้านสมรรถนะของพยาบาล รองรับการเปิดตลาดเสรี อาเซียน ปี 2558 กรณีศึกษา โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี โดยประยุกต์ใช้สมรรถนะของพยาบาล อาเซียนตามข้อตกลงร่วมของสภาการพยาบาลและแนวคิด สมรรถนะของ Prahalad and Hamel ดำ เนินการ พัฒนาโปรแกรมฯ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ Krripendoff เพื่อจัดทำ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ จากนั้นใช้เกณฑ์การประเมินเครื่องมือทางการศึกษา โดย กำ หนดเกณฑ์ประสิทธิภาพโปรแกรมฯ ฝึกอบรมตามแนวคิด Hambelton โปรแกรมฯ ประกอบด้วยกิจกรรมบรรยาย ให้ความรู้ และการฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาล รวม 6 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และการประเมิน พฤติกรรมตามเกณฑ์สมรรถนะ โดยเก็บข้อมูลก่อนและ หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้างาน พยาบาลที่ทำ งานมามากกว่า 3 ปี จำ นวน 62 คน การ วิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและการทดสอบทีแบบจับคู่


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรมฯ มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ ในทุกด้าน อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์, สภาการพยาบาล (2555) เอกสารประกอบ การสัมมนา “วิชาชีพการพยาบาลในประชาคมอาเซียน”. วันที่ 13 ธันวาคม 2555 ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ อาคารนครินทรศรี, 2555, 19.

กรมการแพทย์, โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (ม.ป.ป.) สรุป รายงานและสถิติผู้ป่วยที่เข้ารับบริการและส่งต่อบริการ ปี 2554 - 2555. เอกสารอัดสำ เนา.

กองการพยาบาลสาธารณสุข สำ นักอนามัย กรุงเทพมหานคร (2554) คู่มือการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายงาน พยาบาล.

จิรนันท์ ป้อมพิมพ์ (2550) การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนา สําหรับพยาบาลเรื่อง “การซักประวัติสุขภาพ” วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จิรประภา อัครบวร เอกสารประกอบการบรรยาย “แนวโน้ม การบริหารทรัพยากรบุคคลในอนาคต (HR Trend in 2013)”. วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2555 ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

ฐิติพัฒน์ พิชญธาดาพงศ์ (2551) ยุทธวิธีการใช้ระบบ สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อผลักดัน องค์กรสู่ความเป็นเลิศ. สำ นักพิมพ์บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำ กัด, กรุงเทพฯ.

ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ (2556) เอกสารประกอบการประชุม เรื่อง “ศูนย์กลางบริการสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)”. สำ นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวง สาธารณสุข, 2.

ดรุณี ภู่ขาว และคณะ (2551) การทบทวนและสังเคราะห์ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแบบประเมินสมรรถนะระบบ สุขภาพจากมุมมองผู้รับบริการที่พบในประเทศไทยและ ต่างประเทศ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

บุษฎี สันติพิทักษ์ (2555) รายงานการประชุมเรื่อง “ทิศทาง และผลกระทบการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนของ ประเทศไทย”, 2555. ณ ห้องประชุมราชนครินทร์ อาคารนครินทรศรี, 34.

ยุวดี มูลประเสริฐ (2547) การสร้างและหาประสิทธิภาพ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการงาน อาชีพ และเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วรางค์ศิริ ทรงศิลสา (2550) การกำ หนดขีดความสามารถ หลักและขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการของ บุคลากร: กรณีศึกษา: บริษัท เอ็น เอส เค แบริ่งส์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำ กัด. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และองค์การ) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิจิตร ศรีสุพรรณ สภาการพยาบาล “บทบาทขององค์กรวิชาชีพ ในประชาคมอาเซียน”. จาก http://www.tnc.or.th/fi files/2012/12/news-1451/04_pdf_11652.pdf ค้นคืน 10 กุมภาพันธ์ 2556.

สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ สภาการพยาบาล “สภาการพยาบาลกับ การเตรียมความพร้อมของวิชาชีพการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์สู่ประชาคมอาเซียน”. จาก http://www.tnc. or.th/files/2012/12/news-1451/04_pdf_11652.pdf ค้นคืน 10 กุมภาพันธ์ 2556.

สุพิศ กิตติรัชดา (2554) เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง “การพัฒนากรอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยงาน อุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลนครพิงค์”. เอกสาร อัดสำ เนา.

Boyatzis, R.E. (1982). The Competent Manager. New York: McGraw-Hill.