การประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและกระบวนการกลุ่มต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สุนทรี ศรีเที่ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกัน โรคและกระบวนการกลุ่มต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ขับขี่รถจักรยานยนต์ ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ศรีสะเกษ โดยการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ประกอบด้วยกิจกรรม การบรรยายให้ความรู้ สาธิตการขับขี่รถจักรยานยนต์ การสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกต้องและการสอบใบขับขี่ รถจักรยานยนต์ และการประยุกต์ใช้กระบวนการกลุ่ม โดยการอภิปรายกลุ่ม กิจกรรมกระตุ้นเตือนและส่งเสริม พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัยและ จัดตั้งกลุ่มนักศึกษาจิตอาสาต้นกล้าความปลอดภัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกต พฤติกรรมก่อนและหลังการทดลอง


กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์จำนวน 52 คน การวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired Sample t-test และใช้ร้อยละเปรียบเทียบ ผลการสังเกตพฤติกรรมก่อนการทดลองและหลังการ ทดลอง ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการ รับรู้ความรุนแรงของอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มทดลองมี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่าง ปลอดภัยในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้น จึงควรจัดให้มีโปรแกรม ส่งเสริมให้นักศึกษามีการรับรู้ความรุนแรงของอุบัติเหตุ จากการขับขี่รถจักรยานยนต์ และมีพฤติกรรมการขับขี่ รถจักรยานยนต์ที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช (2551) ข้อเสนอเชิงนโยบาย และมาตรการในการลดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์. สาระสังเขปออนไลน์. ค้นคืนวันที่ 15 มิถุนายน 2555. จาก http://www.roadsafetythai.org/document/ article/article_57.pdf

พัชรินทร์ ทาน้อย (2551) ประสิทธิผลของการสร้างเสริม ทักษะชีวิตและการจูงใจในการป้องกันอุบัติภัยจาก รถจักรยานยนต์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พิบูลย์ คันธจันทน์ (2554) สถิติการเกิดอุบัติเหตุที่มีการ บันทึกรับแจ้งเหตุภายใน 48 ชั่วโมง ปี 2554. บริษัทกลาง คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด จังหวัดศรีสะเกษ.

มังกร สุขประเสริฐ (2551) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ในนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอประโคนชัย จังหวัด บุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

มูลนิธิไทยโรดส์ (2553) ปลุกกระแสลดอุบัติเหตุท้องถนน จัดโครงการสวมหมวกกันน็อก 100%. สาระสังเขป ออนไลน์. ค้นคืนวันที่ 20 มีนาคม 2554. จาก http:// www.worldlease.co.th/news-2554039.html

วีระพงษ์ สีอุปลัด. (2552) การศึกษาเปรียบเทียบผลของ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัย ของคนขับรถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้างและรถสามล้อ สกายแลปในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, ขอนแก่น.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปี 54 ไปสวมหมวกกันน็อก 100%. สาระสังเขปออนไลน์. ค้นคืนวันที่ 17 มีนาคม 2554. จาก http://www. thaihealth.or.th/healthcontent/featured/17339

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปี 54 อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ. สาระสังเขปออนไลน์. ค้นคืนวันที่ 17 มีนาคม 2554. จาก http://corp. thaihealth.or.th/resource-center/facts/ accidents