แนวโน้มอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2553-2563

Main Article Content

อารยา ประเสริฐชัย
ธีระวุธ ธรรมกุล
บุญญารัช ชาลีผาย
ศรุดา จิรัฐกุลธนา
อนัญญา ประดิษฐปรีชา
มยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์

บทคัดย่อ

    


โรคมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในผู้หญิงไทยซึ่งยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอัตราการตายด้วยโรค มะเร็งเต้านมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือไม่ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อตรวจสอบแนวโน้มอัตราการตายตามกลุ่มอายุและอัตราการตายเมื่อปรับฐานอายุของโรคมะเร็งเต้านม (C50) ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2563


  วิธีการศึกษาโดยใช้ข้อมูลการตายของกระทรวงสาธารณสุข ตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศครั้งที่ 10 ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2563 มาคำนวณเพื่อหาแนวโน้มอัตราการตายตามกลุ่มอายุและอัตราการตายเมื่อปรับฐานอายุต่อประชากรเพศหญิง 100,000 คน โดยใช้ประชากรมาตรฐานในปี 2553


              ผลการศึกษาพบว่าอัตราการตายตามกลุ่มอายุและอัตราการตายเมื่อปรับฐานอายุของโรคมะเร็งเต้านม (C50) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าในช่วงระยะเวลา 10 ปี สาเหตุของการเพิ่มขึ้นน่าจะเกิดจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง ปัจจัยด้านฮอร์โมนและโรคอ้วน ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายทางสุขภาพควรส่งเสริมให้หญิงไทยลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคมะเร็งเต้านมโดยการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี รวมทั้งการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ทางสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2553). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2553. กระทรวงสาธารณสุข.https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2553_0.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2555. กระทรวงสาธารณสุข. https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2555_0.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2557). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2557. กระทรวงสาธารณสุข. https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2557_0.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2559. กระทรวงสาธารณสุข. https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2559_0.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561. กระทรวงสาธารณสุข. https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2561_0.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2563. กระทรวงสาธารณสุข. https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2563_0.pdf

ชลทิตย์ อุไรฤกษ์กุล. (2565, 20 มกราคม). สถานการณ์มะเร็งเต้านมทั่วโลกและประเทศไทย. มูลนิธิถันยรักษ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. http://doh.hpc.go.th/bs/indexDisplay.php?id=631#a2

ดลสุข พงานิกร, กาญจนา ดงประเสริฐ, บุรินทร์ วงค์แก้ว, ศิรินยา แสงคำ, มนฐิตินันท์ ประดิษฐค่าย, และ รวิสรา มีมาก. (2563). แนวโน้มอุบัติการณ์ป่วยและตายโรคมะเร็งภาคเหนือ พ.ศ. 2556-2560: ผลของการพัฒนาเครือข่ายทะเบียนมะเร็งระดับประชากร. โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง กรมการแพทย์. https://www2.lpch.go.th/lpch/uploads/20200617093948752932.pdf

วิวัฒน์ โรจนพิทยากร. (2565). Age-Standardizes Death Rate: Comparative Mortality Figures - การคำนวณอัตราตายปรับฐานอายุ (Age-Standardizes Death Rate) เพื่อการเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(1), 3–4.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2561). แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. https://shorturl.asia/2yafH

สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย. (2564). ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม. สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย. https://www.thaibreast.org/TH/knowledge/_.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). 2552-2553 สำมะโนประชากรและเคหะ. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/Statistics%20from%20major%20Survey.aspx

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, และ สุธิดา แก้วทา. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

American Cancer Society. Cancer Facts & Figures 2008. American Cancer Society. https://www.cancer.org/research/cancer-facts-statistics/all-cancer-facts-figures/cancer-facts-figures-2008.html

Azamjah N., Soltan-Zadeh Y., & Zayeri F. (2019). Global Trend of Breast Cancer Mortality Rate: A 25-Year study. APJCP, 20(7), 2015–2020.

Breast Cancer Network Australia. (2021). Breast cancer situation. Breast Cancer Network Australia. https://www.bcna.org.au

Global Cancer Observatory (GCO). (2021). GLOBOCAN 2020. Global Cancer Observatory. https://gco.iarc.fr/

Prasertchai A., Jitapunkul S., Aekplakorn W., & Kuruchittham V. (2008). Recent trends in mortality rates for ischemic heart disease in Thailand, 1998-2006. Paper presented at the 2nd International Conference on Reproductive Health and Social Sciences Research, Bangkok, Thailand.

Prasertchai A., & Noiwat O.. (2015). Gender difference in disability and active life expectancy among Thai elderly in 2011. Paper presented at the Third International Conference on Asian Studies 2015, Niigata, Japan.

Tangcharoensathien V., Faramnuayphol P., Teokul W., & Bundhamcharoen K. (2006). A critical assessment of mortality statistics in Thailand: potential for improvements. Bull. World Health Organ, 84(3), 233-238.

World Health Organization. (1992). International statistical of diseases and related health problems (2nd ed). WHO.

World Health Organization. (2021a). Breast cancer. World Health Organization. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/breast-cancer

World Health Organization. (2021b). Noncommunicable diseases. World Health Organization. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases