การพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ : กรณีศึกษากลุ่มผู้ประกอบอาชีพแปรรูปปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

สุรวิทย์ นันตะพร
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการได้รับบาดเจ็บจากการทำงานของแรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพแปรรูปปลาสลิดบางบ่อ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาเชิงสำรวจข้อมูลทั่วไปและสภาพปัญหาการได้รับบาดเจ็บจากการทำงานโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 82 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบและนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างนำร่อง จำนวน 30 คน และระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยใช้วิธีการศึกษาแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง ระยะเวลาทดลองทั้งหมด 12 สัปดาห์ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 82 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 41 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ติดตามและประเมินผลพฤติกรรมความปลอดภัยทุก 2 สัปดาห์ จำนวน 7 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบที และ แมน-วิทนีย์   


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองเคยประสบอุบัติเหตุจากการทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 53.66 ส่วนใหญ่โดนวัตถุ/สิ่งของมีคม ตัด/บาด/ทิ่มแทง ร้อยละ 41.46 ได้รับบาดเจ็บที่นิ้วมือ ร้อยละ 31.71  ส่วนกลุ่มควบคุมเคยประสบอุบัติเหตุจากการทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 58.54 ส่วนใหญ่โดนวัตถุ/สิ่งของมีคม ตัด/บาด/ทิ่มแทง ร้อยละ 48.78 ได้รับบาดเจ็บที่นิ้วมือ ร้อยละ 46.34 ผลจากการพัฒนารูปแบบทำให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมต่อการนำไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1. การชี้บ่งอันตราย 2. การให้ความรู้ 3. การติดตามและสังเกตพฤติกรรม 4. การสร้างแรงกระตุ้น และ 5. การสร้างการมีส่วนร่วม เมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ก่อนทดลองใช้รูปแบบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน และหลังทดลองใช้รูปแบบในสัปดาห์ที่ 4, 6, 8, 10 และ 12 ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมความปลอดภัยของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพในชุมชนสามารถนำรูปแบบไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานให้กับแรงงานนอกระบบในชุมชนเพื่อนำไปสู่การลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลา วัฒนายิ่งเจริญชัย และดุษฎี อายุวัฒน์. (2560). การพัฒนารูปแบบการป้องกันความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบกลุ่มตัดเย็บผ้าอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(3), 474-485.

กลุ่มแรงงานนอกระบบ กระทรวงแรงงาน. (2561). แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.). http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER22/DRAWER039/GENERAL/DATA0000/00000212.PDF

น้ำเงิน จันทรมณี. (2560). ความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ของอาชีพเกษตรกรรมแรงงานนอกระบบ อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), 112 -123.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2(4), 1-15.

ศุภวรรณ รัตนภิรมย์. (2559). พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการกลุ่มบริษัทบีเอเอสเอฟในประเทศไทย.วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(34), 6-19.

สุปรีดิ์ เดชา และสมคิด ปราบภัย. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในพนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารควบคุมโรค, 44(1), 31-37.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). รายงานการสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2563. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/Informal_work_force/2563/Fullreport_2563.pdf

สํานักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). ประมวลสารสนเทศพร้อมใช้ (การแปรรูปปลาสลิด). เครือข่ายความร่วมมือเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน คลินิกเทคโนโลยี ที่พึ่งของชุมชน. http://www.clinictech.ops.go.th/online/techlist/attachFile/201412975531.pdf

ศรีประไพ กาญจนกันทร. (2561). รายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (ปลาสลิดบางบ่อ). กระทรวงวัฒนธรรม. https://www.m-culture.go.th/samutprakan/images/fonl.pdf

อังคณา วงศ์บุตร และอนงค์ หาญสกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้ายืด บ้านโนนโพธิ์ ตำบลลุ่มชี อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา, 15(1), 142-153.

Dupont W. D., & Plummer W. D. (1990). Power and sample size calculations: A review and computer program. Controlled clinical trails, 11, 28 - 116.

Onmoy P., & Aungudornpukdee P. (2016). The development of health impact model for pesticides in shallot farming using community participation appropriating to context and lifestyle: A case study of Chaijumphon Sub-Distric, Laplae District, Uttaradit Province. Proceedings of Naresurn national research conference: Art research and creative work, Phitsanulok, 13, 543-553.

Raksanam B., Taneepanichskul S., Siriwong W., & Robson M. (2012). Multi-approach model for improving agrochemical safety among rice farmers in Pathumthani Thailand. Risk Management and Healthcare Policy, 5, 75-82.

Santaweesuk S., Chapman R.S., & Siriwong W. (2014). Effectiveness of injuy and illness prevention program among rice farmer at Ongkharak District, Nakhon Nayok Province, Thailand. Risk Management and Healthcare Policy, 7, 51-60.

Thirarattanasunthon P., Siriwong W., Robson M., & Borjan M. (2012). Health risk reduction behaviors model for scavengers exposed to solid waste in municipal dump sites in Nakhon Ratchasima Province, Thailand. Risk Management and Healthcare Policy, 5, 97-104.

Wisutthananon A., Chanprasit C., Kaewthummanukul T., & Suwannaprapisa T. (2019). Effect of integrated program on safety behaviors among rice farmers. Pacific Rim International of Nursing Research, 23(4), 345-356.