พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ประกอบอาชีพขับรถส่งอาหาร ในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ชัญญากานต์ โกกะพันธ์
ลักษณีย์ บุญขาว
ดวงเดือน ปลดรัมย์
นลินี เพ็ชรฉกรรจ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ประกอบอาชีพขับรถส่งอาหารบริษัทแกร็บฟู๊ด และฟู๊ดแพนด้า ในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยเก็บตัวอย่างกับพนักงานทั้ง 2 บริษัททุกคนจำนวนทั้งสิ้น 70 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่ามากกว่า 0.70 ทุกส่วน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และสถิติไคสแควร์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ของผู้ประกอบอาชีพขับรถส่งอาหารอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 51.43) (= 2.77, S.D. = 0.154) ผู้ประกอบอาชีพขับรถส่งอาหารเคยมีประสบการณ์ในการกระทำความผิดกฎหมายจราจรโดยต้องเสียค่าปรับแก่ตำรวจ (ร้อยละ 64.29) โดยสาเหตุหลักของการเสียค่าปรับคือ การไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่พกใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ และฝ่าสัญญาณไฟจราจร (ร้อยละ 44.28  24.28 และ 7.14 ตามลำดับ) และ (2) ประสบการณ์การประสบอุบัติเหตุและการรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value = 0.030 และ p - value = 0.003 ตามลำดับ) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพขับรถส่งอาหารมีพฤติกรรมการขับขี่ที่เหมาะสม ปฏิบัติตามกฎหมายการจราจรเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ต่อทั้งตัวผู้ประกอบอาชีพขับรถส่งอาหารและผู้ร่วมใช้เส้นทางอื่นด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจน์กรอง สุอังคะ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กิตติทัต สุดชู, ไชยนันต์ แท่งทอง, วราภรณ์ คำยอด, และสรา อาภรณ์. (2563). ระดับการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกและปัจจัยจากการทำงานในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างเพศชาย ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 3(2),158-175.

จิตศจี จิตต์พิศาล, วันเพ็ญ แก้วปาน, และ สุรินธร กลัมพากร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 28(3),84-98.

นัชรัศม์ ชูหิรัญญ์วัฒน์. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎหมายจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ภายในเขตเทศบาลนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, และ สัญญา เคณาภูมิ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(4), 235-244.

แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด. (2561). รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนประเทศไทย 2561. สนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจร.

วาสนา สายเสมา. (2548). พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุในการขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดอุบลราชธานี. (2563). ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุ 3 ฐาน. ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน.

Chumpawadee U., Homchampa P., Thonkrajai P., Suwanimitr A., & Chadbunchachai W. (2015). Factors related to motorcycle accident risk behavior among university students in Northeastern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health, 46(4), 805-821.

Pinchumpholsang W. (2020). Study to driving behavior of motorcycle safety in the city of Ratchaburi Province, Thailand. RMUTT Global Business Accounting and Finance Review (GBAFR), 4(1), 41-52.

Piyapromdee U., Adulyanukosol V., & Lewsirirat S. (2015). Increasing road traffic injuries in underage motorcyclists. JRCOST, 39(1-2), 3-7.

Puratmaja Y., Handayani L., & Sunardi K. S.. (2017). Factor Associated with motorcycle risk behavior in Thai University Students, Khonkaen. International Journal of Evaluation and Research in Education, 6(4), 270-276.