การประเมินคุณภาพอากาศภายในห้องเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศภายในห้องเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในห้องเรียนจำนวน 4 ห้องในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2562 จำนวน 10 พารามิเตอร์ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ คาร์บอนมอนออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ สารอินทรีย์ระเหยง่ายโดยรวม เชื้อรา ในอากาศ แบคทีเรียในอากาศ ฝุ่นละอองรวม ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมโครเมตร และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมโครเมตร โดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พารามิเตอร์คุณภาพอากาศภายในอาคารที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ 1)อุณหภูมิ 2 ห้องเรียน 2)ความชื้นสัมพัทธ์ 1 ห้องเรียน 3)ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ 4ห้องเรียน และ 4)ปริมาณแบคทีเรียในอากาศ 2 ห้องเรียน จากการศึกษานี้จึงเสนอให้พิจารณาการติดตั้งระบบปรับภาวะอากาศ (Heating Ventilation And Air Conditioning: HVAC) สำหรับการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาดเพื่อลดการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ รวมถึงการเติมอากาศบริสุทธิ์จากภายนอกอาคารเข้ามาภายในห้องเพื่อให้เกิดการระบายอากาศอย่างเหมาะสม และบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอโดยมีการตรวจสภาพทุก ๆ 6 เดือน
Article Details
Journal of Safety and Health is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) licence, unless otherwise stated.
References
ก้องนภา อุทังสังข์.,กาญจนา นาถะพินธ. (2561). ชนิดและปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ในอากาศ แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7ขอนแก่น. 25(2): 14-15.
เชิดศิริ นิลผาย., กานต์พิชชา เกียรติกิจโรจน์., สุวรรณี จามจุรี. (2560). การศึกษาปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารที่มีผลต่อโรคการเจ็บป่วย จากอาคารของผู้ปฏิบัติงานถ่ายเอกสาร.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(3): 106-120.
ณหทัย ตัญญะ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยสารสาธารณะกับกลุ่มอาการอาคารป่วยในพนักงานจาหน่ายตั๋วโดยสาร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ: 87-98.
ณหทัย เลิศการค้าสุข., นพนันท์ นานคงแนบ., พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล., วชิระ สิงหคเชนทร์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยสารสาธารณะกับกลุ่มอาการอาคารป่วยในพนักงานจําหน่วยตั๋วโดยสารเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ฉบับพิเศษ: 87-98.
ณัชจารีย์กร สวัสดิ์มงคลกุล., ชุมพร มูรพันธุ์. (2558). การรับรู้คุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(2): 1583–1594.
ดำรงศักดิ์ ร่มเย็น. (2557). ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาการ ของผู้ปฏิบัติงานพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการ จัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นภดนัย อาชวาคม. (2554). คุณภาพอากาศภายในอาคาร. สืบค้นเมื่อ: 19 สิงหาคม 2562. จาก: http://www.eng.chula.ac.th/files/larngearforum/download/larngearforum2554/20110319/Nopdanai_AirQuality.pdf.
ปัทมาพร ท่อชู., ดร.วิทยา อินทร์สอน., ผศ.ดร.นิคม ลนขุนทด. (2562). ระบบระบายอากาศในโรงงาน (Ventilation System for Factory). สืบค้นเมื่อ: 4 กันยายน 2562. จาก: http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=1522§ion=37&issues=82.
มธุรส ประสมวงค์ และคณะ. (2562). คุณภาพอากาศภายในอาคารโรงแรมและกลุ่มอาการ เจ็บป่วยของพนักงานโรงแรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 20(3): 64-73.
ยมนา จรรยา. (2559). ความชุกและปัจจัยที่มีผลกับการเกิดกลุ่มอาการโรคจากการทำงาน ในตึก ของผู้ที่ทำงานในอาคาร สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ. สาธารณสุขศาสตร์ มหาบัณฑิต คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 15-24.
วิกรม เสงคิศิรี. (2548). Sick Building Syndrome. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค.
วิลาศ เทพทา, (2549) การประเมินผลคุณภาพสภาพแวดล้อม ภายในอาคารสำนักงานประหยัดพลังงาน กรณีศึกษา : อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทย /. มหาวิทยาลัยศิลปากร,:ม.ป.ท.
สร้อยสุดา เกสรทอง. (2549). SBS โรคจากการทำงานในตึก. กรุงเทพฯ: ใกล้หมอ.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารสำหรับช่องทางเข้าออกประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์ กรุงเทพฯ: 2561.
สุพจน์ เตชะอำนวยวิทย์. (2562). การตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร. สืบค้นเมื่อ: 19 สิงหาคม 256 จาก:http://www.acat.or.th/download/acat_or_th/journal- 14/14%20-%2009.pdf.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. SBS โรคจากการทำงานในตึก. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร. ใกล้หมอ: 2549.
ห้องปฏิบัติการกลางประเทศไทย. (2562). คุณภาพอากาศภายในอาคาร(Indoor Air Quality) เรื่องใกล้ตัวที่คุณอาจมองข้าม. สืบค้นเมื่อ: 19 สิงหาคม 2562. จาก: https://www.organicbook.com/health.
อนุสสรา ฤทธิ์วิชัย., ณภัควรรต บัวทอง. (2557). ภาวะกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคาร และ ความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิตภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
อรุณศักดิ์ โสภณธรรมภาณ. (2552). โรคภัยจากในอาคาร (Sick Building Syndrome). สืบค้น เมื่อ: 4 กันยายน 2562. จาก: http://www.etm.sc.mahidol.ac.th/a6.shtml.
อารุญ เกตุสาคร., รุจิพรรณ แฝงจินดา. (2558). การประเมินคุณภาพอากาศภายใน ห้องเรียน. วารสารคณะพลศึกษา. 18(1): 238-247.
นินนาท ราชประดิษฐ์., จุฑาวัชร สุวรรณภพ และ นฤพล สร้อยวัน. (2556). การศึกษาผลกระทบของรูปแบบการระบายอากาศที่มีต่อระดับความชื้นสัมพัทธ์ ภายในสำนักงานที่ใช้เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน. Naresuan University Journal 2013; Special Issue: 17-23.
Norhidayah A, Chia-Kuang L, Azhar MK, Nurulwahida S. Indoor air quality and sick building syndrome in three selected buildings. Procedia Engineering. 2013 Jan 1;53:93-8.
Nordström, K., Norbäck, D., & Akselsson, R. (1995). Influence of indoor air quality and personal factors on the sick building syndrome (SBS) in Swedish geriatric hospitals. Occupational and environmental medicine. 52(3), 170-176.
Syazwan, A.I., Juliana, J., Norhafizalina, O., Azman Z.A. & Kamaruzaman, J. (2009). Indoor Air Quality and Sick Building Syndrome in Malaysian Buildings. Global Journal of Health Science. 1(2): 126-135.
United States Environmental Protection Agency (U.S.EPA). (1991). Indoor Air Facts No.4 Sick-Building Syndrome, Air and Radiation. Available source: http://www.epa.gov/iaq/pdfd/sick_building_factsheet.pdf. July. 5, 2018.